อุปกรณ์ปฐมพยาบาลสําหรับประคบเย็น/ร้อน

ผู้แต่ง

  • ตีรณา งามธุระ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
  • กมล ไชยอามิตร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
  • รัชชพล จันทิหล้า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
  • กรภัทร ขันไชย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
  • จุฑามาศ ดีสุยา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
  • สามารถ แซ่ท้าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน

คำสำคัญ:

อุปกรณ์ปฐมพยาบาล, ประคบเย็น, ประคบร้อน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมอุปกรณ์ปฐมพยาบาลสำหรับประคบเย็นและร้อน ในประเด็น รูปแบบทางกายภาพ ต้นทุนการผลิต อายุการใช้งาน เวลาเฉลี่ยของอุณหภูมิที่ใช้งาน ความสามารถในการบรรเทาอาการปวด และความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรม วิธีการศึกษาใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง มี 2 กลุ่ม คือประชากรที่มีข้อบ่งชี้ต้องรับการปฐมพยาบาลด้วยการประคบเย็นหรือประคบร้อนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้าน (อสม.) นำนวัตกรรมไปใช้ การเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ (1) ขั้นการทดสอบคุณภาพนวัตกรรม (2) ขั้นการพัฒนาประสิทธิภาพของนวัตกรรม โดยนำนวัตกรรมไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มา รับบริการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลงอบ จำนวน 97 ราย แล้วประเมินความสามารถในการบรรเทาอาการปวด และประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรม (3) ขั้นการพัฒนาทักษะการประคบเย็น/ร้อน และส่งเสริมการนำไปใช้ในชุมชน เก็บข้อมูลกับ อสม. ในพื้นที่ตำบลงอบ จำนวน 113 คน คนละ 1 ชุด และประชาชนที่มารับบริการกับ อสม. โดยประเมินความพึงพอใจ ข้อร้องเรียน ภาวะแทรกซ้อน และผู้วิจัยทำการประเมินทักษะการนำนวัตกรรมไปใช้ของ อสม. เปรียบเทียบกับ CPC โดยประเมินผลเป็นระยะทุก 1 เดือน ผลการศึกษาผู้วิจัยไม่สามารถ พัฒนานวัตกรรมอุปกรณ์ปฐมพยาบาลสำหรับประคบเย็น/ร้อนภายในอุปกรณ์ชนิดเดียวกันได้คือ ใช้ถุงพลาสติกประเภท LLDPE ความหนา 0.20 ไมครอนสำหรับการประคบเย็น และถุงพลาสติกประเภท PVC (ถุงน้ำยาล้างไตทาง ช่องท้อง) สำหรับการประคบร้อน แต่นวัตกรรมที่ประดิษฐ์ขึ้นมีคุณสมบัติใกล้เคียงและโดดเด่นกว่า Cold hot pack ตามท้องตลาดหลายประการคือ (1) มีราคาถูกกว่า (2) อายุการ ใช้งาน 3 ปี เทียบกับ Cold hot pack ตามท้องตลาดคือ 5 ปี (3) การใช้งานแบบประคบเย็นมีอุณหภูมิใกล้เคียงกัน (4) การใช้งานแบบประคบร้อน สามารถทนความร้อนได้ใน น้ำเดือดเหมือนอุปกรณ์จากท้องตลาด แต่ให้ความร้อนสูงกว่าและระยะเวลาที่ให้ความร้อนนานกว่า (5) เฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการบาดเจ็บ กล้ามเนื้อ กระดูก เส้นเอ็น เปรียบเทียบก่อนและหลังการประคบผ่านไป 20 นาทีพบว่า ทุกรายมีค่าคะแนนความเจ็บปวดลดลง และสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) (6) อสม. ในพื้นที่ตำบลงอบ สามารถใช้นวัตกรรมได้อย่างถูกต้องตาม CPC ทั้ง 113 ราย (ร้อยละ 100.0) (7) ผู้ป่วยกับ อสม.ทั้ง 204 ราย ไม่มีข้อร้องเรียนและไม่เกิดภาวะแทรกช้อน (ร้อยละ 100.0) และส่วนใหญ่มีความ พึงพอใจในระดับมาก จำนวน 188 คน (ร้อยละ 92.2) สรุปนวัตกรรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นสามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ประคบเย็น/ร้อนในการปฐมพยาบาลและสามารถส่งเสริมการนำไปใช้ในชุมชนได้ แต่ควรศึกษาถึงประเภทของพลาสติกชนิดอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติในการทนต่อความร้อนและความเย็นได้ใกล้เคียงกับ cold hot pack ตามท้องตลาด และควรศึกษาเปรียบเทียบค่าคะแนนความเจ็บปวดของผู้ป่วยกับนวัตกรรมที่ประดิษฐ์ขึ้น และการส่งเสริมในชุมชนควรเริ่มดำเนินการกับกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นกลุ่มแรก

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2018-02-26

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้