ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการเปลี่ยนงานของบุคลากรนวดไทยและสปาไทย: ภาคเอกชน กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ธุรกิจนวดแผนไทยและสปา, ปัจจัยกำหนด, การตั้งใจที่จะเปลี่ยนงานบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการตั้งใจที่จะเปลี่ยนงานของพนักงานนวดในธุรกิจนวด-แผนไทยและสปา รวมถึงพิจารณาถึงผลกระทบความพึงพอใจในงาน ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การความสมดุลในการใช้ชีวิตการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การ ความยุติธรรมในองค์การ และความไว้วางใจที่มีต่อความตั้งใจที่จะเปลี่ยนงานของพนักงานนวดในธุรกิจนวดแผนไทยและสปาในกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2559กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานนวด 400 คน ที่เป็นสมาชิกของสมาคมแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย โดยใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย สถิติที่ใช้ คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น (MLR) และไคว์สแควร์ ผลการวิจัยพบว่าการตั้งใจที่จะเปลี่ยนงานของพนักงานนวดอยู่ในระดับปลานกลาง ร้อยละ 71.25 ผลการทดสอบไคว์สแควร์ ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับการตั้งใจที่จะเปลี่ยนงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพบว่า 6 ตัวแปร ได้แก่ ความยุติธรรมในการดำเนินการ ความ พึงพอใจในความก้าวหน้า ความไว้วางใจ ความพึงพอใจต่อหัวหน้า ค่าตอบแทน และงานมีผลต่อการตั้งใจที่จะเปลี่ยนงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่ความไว้วางใจมีผลต่อการตั้งใจที่จะเปลี่ยนงานในทางลบมากที่สุด ข้อเสนอแนะ ธุรกิจนวดแผนไทยและสปาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดปัจจัยเหล่านั้นเพื่อสนับสนุนให้พนักงานคงอยู่ ควรปรับปรุงความพึงพอใจในงาน แรงจูงใจ และขวัญกำลังใจของพนักงานเพื่อให้บริษัทประสบความสำเร็จในระยะยาว ความชื่อสัตย์ ผลผลิตของงาน รวมทั้งการพัฒนาทีมงานและบรรยากาศในองค์การเพื่อเพิ่มความไว้วางใจ เพื่อให้พนักงานคงอยู่ในองค์การต่อไป
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2018 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.