ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเมื่อยล้าของพนักงานร้านเสริมสวย ในเขตตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • วัชราภรณ์ วงศ์สกุลกาญจน์ หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • วนิดา เทพณรงค์ หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • อุทัย กายบุตร หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ระดับความเมื่อยล้า, พนักงานร้านเสริมสวย, ปทุมธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเมื่อยล้าของพนักงานร้านเสริมสวยในเขตตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี รูปแบบการวิจัยเป็นแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 192 คน โดยสุ่มแบบเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล สภาพการทำงานและแบบสอบถาม ระดับความเมื่อยล้า สถิติที่ใช้ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Chi Square ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้สึกเมื่อยล้าอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 56.30 รองลงมาเป็นระดับมาก ร้อยละ 25.00 และระดับน้อย ร้อยละ 18.80 สถานภาพ โรคประจำตัว ท่าทางการทำงาน การเอื้อม ก้มๆ เงยๆ ดึง ยก และบิดหมุนลำตัว มีความสัมพันธ์กับระดับความเมื่อยล้าของพนักงานร้านเสริมสวยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ข้อเสนอแนะสำหรับนำผลการวิจัยไปใช้ คือ ควรให้ความรู้แก่พนักงานร้านเสริมสวยในเรื่องความเมื่อยล้า โดยประสานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล สามารถนำข้อมูลไปวางแผนป้องกันปรับเปลี่ยน สนับสนุน ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเมื่อยล้าของพนักงานร้านเสริมสวยได้ในอนาคต

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-11-06

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ