กระบวนการพัฒนารูปแบบเมืองแห่งความสุข จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
กระบวนการพัฒนา, เมืองแห่งความสุขบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนารูปแบบสู่การเป็นเมืองแห่งความสุข กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการ นักวิชาการ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐระดับจังหวัด จำนวน 15คน นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 60 คน และสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชน อสม. และกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 300 คน ระยะเวลาทำการศึกษา ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึง กันยายน 2558 เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม การจัดเวทีประชาคม และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์เชิงพรรณนาด้วยค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน F-test และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการมี 4 รูปแบบ ได้แก่รูปแบบที่ 1 การบริหารจัดการรายตัวชี้วัดแบบบนลงล่าง รูปแบบที่ 2 การบริหารจัดการรายตัวชี้วัดแบบ ล่างขึ้นบน รูปแบบที่ 3 การบริหารจัดการโดยแบ่งผู้รับผิดชอบเป็น 3 องค์ประกอบ (คนดี สุขภาพดี และรายได้ดี) รูปแบบที่ 4 การบริหารจัดการโดย แบ่งผู้รับผิดชอบเป็น 3 องค์ประกอบและมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมเสนอปัญหาการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจต่อการพัฒนาอยู่ในระดับมาก การประเมินความสุขของ ชุมชนตามองค์ประกอบและตัวชี้วัดด้านคนดี สุขภาพดี และรายได้ดี จำนวน 19 ตัวชี้วัด อยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสถานภาพทางสังคมกับความสุขของชุมชนรายด้านและโดยรวม พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.