การเกิดโรคพิษจากสารเคมีกำจัดแมลง ในกลุ่มเกษตรกรที่ไปร่วมหยอดเมล็ดข้าวโพด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก พฤษภาคม 2558
คำสำคัญ:
พิษจากสารเคมีกำจัดแมลง, เมโทมิล, เมล็ดข้าวโพด, เกษตรกรบทคัดย่อ
รายงานนี้ได้นำเสนอผลการสอบสวนการเกิดโรคพิษจากสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืช ในกลุ่มเกษตรกรไปร่วมหยอดเมล็ดข้าวโพดในไร่แห่งหนึ่ง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2558 การสอบสวนโรคประกอบด้วยการรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่มารับบริการที่โรงพยาบาลแม่สอด การค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในชุมชน การศึกษาเพื่อค้นหา ปัจจัยเสี่ยง อาหาร หรือน้ำ ที่อาจเป็นแหล่งแพร่โรค การสำรวจสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมบริเวณไร่ข้าวโพดที่เกิดเหตุการณ์ และการเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาสารพิษและเชื้อก่อโรค จากการสอบสวนโรคพบกลุ่มเกษตรกรที่ไปร่วมลงแขกหยอดเมล็ดข้าวโพดรวม 48 ราย โดยพบผู้ป่วย 42 ราย (ร้อยละ 87.5) เป็นชาวไทย-ภูเขา 18 ราย และชาวต่างชาติชาวพม่า 24 ราย ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการเวียนศีรษะมากที่สุด (ร้อยละ 83.3) รองลงมา คือ คลื่นไส้ (ร้อยละ 69.0) อาเจียน (ร้อยละ 52.4) ปวดท้อง (ร้อยละ 31.0) และถ่ายเหลว (ร้อยละ 21.4) ตามลำดับ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มมีอาการเวลา 13.00 - 18.00 น. ของวันที่ 24 พฤษภาคม 2558จากการศึกษาพบว่า ผู้ทำหน้าที่หยอดเมล็ดข้าวโพดมีอัตราป่วยสูงเป็น 7 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้สัมผัสเมล็ดข้าวโพด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการสอบสวนพบว่า เมล็ดข้าวโพดมีการนำไปคลุกกับสารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มคาร์บาเมทชื่อเมโทมิล (methomyl) ก่อนนำไปหยอด ซึ่งผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการก็พบเมโทมิลในตัวอย่างเมล็ดข้าวโพดเช่นเดียวกัน จากการศึกษาไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างการป่วยกับอาหาร ที่รับประทานหรือน้ำที่ดื่ม รายงานนี้แสดงถึงโอกาสการได้รับสารพิษจากสารเคมีกำจัดแมลงในกลุ่มเกษตรกรที่ขาดความระมัดระวังในการใช้สารเคมีกำจัดแมลงหรือกำจัดศัตรูพืช โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกรชาวไทยภูเขาหรือชาวต่างชาติที่อาจขาดความรู้หรือมีข้อจำกัดในการสื่อสาร ซึ่งควรมีรูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคที่เหมาะสมสำหรับประชากรกลุ่มนี้
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2018 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.