สถานการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของผู้รับบริการในสถานพยาบาลรัฐ
คำสำคัญ:
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, สถานพยาบาลรัฐ, ประเทศไทยบทคัดย่อ
ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีนโยบายสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายและมาตรการการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม้ในสถานพยาบาลของภาครัฐ แต่อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจนครบ 6เดือนของไทยยังอยู่ในระดับต่ำมาก โดยในปี พ.ศ. 2555 การสำรวจสถานการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทยพบว่าอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน มีเพียงร้อยละ 12.3 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และเหตุผลสำคัญที่ทำให้แม่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวโดยใช้วิธีวิจัยแบบการสำรวจภาคตัดขวางและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นแม่หรือคนในครอบครับที่นำเด็กอายุ 6 - 12 เดือนมารับบริการในสถานพยาบาลของรัฐ ผลการศึกษาพบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวจนครบ 6 เดือนในกลุ่มตัวอย่างประมาณร้อยละ 32.8 และมีแนวโน้มลดลง ต่อเนื่องจากเดือนแรกจนถึงเดือนที่ 4 โดยจะมีอัตราการลดลงจากเดือนที่ 3 ค่อนข้างมาก ทั้งนี้ เหตุผลหลักของแม่ที่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวจนถึง 6 เดือน ได้แก่ แม่คิดว่าน้ำนมไม่เพียงพอ รองลงมาคือ ความกังวล ว่านมแม่มีสารอาหารไม่พอ และเหตุผลอันดับที่ 3 คือ แม่ต้องกลับไปทำงาน โดยส่วนใหญ่ แม่จะให้อาหารอื่นทดแทนนมแม่อย่างน้อย 3 อย่างขึ้นไป และมีนมผงและน้ำเป็นหลัก ดังนั้น เพื่อสนับสนุนให้แม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องควรสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และพัฒนาสถานพยาบาลและบุคลากรให้มีความพร้อมในการช่วยเหลือแม่ นอกจากนี้ ควรมีการกำหนดนโยบาย มาตรการ หรือกฎหมายที่ช่วยลดอุปสรรคของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.