ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ ในเด็กอายุ 5 ปี จังหวัดพัทลุง
คำสำคัญ:
ภาวะโภชนาการ, ภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์, เด็กอายุ 5 ปีบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงวิเคราะห์ชนิดย้อนหลังครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ในเด็กอายุ 5 ปี จังหวัดพัทลุง กลุ่มประชากรคือ เด็กที่คลอดระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 จำนวน 1,191 คน ซึ่งได้รับการติดตามและประเมินภาวะโภชนาการเมื่ออายุครบ 5 ปี โดยใช้ดัชนีน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง เก็บรวมรวมข้อมูลจากชุดฐานข้อมูลมาตรฐาน 43 แฟ้ม จังหวัดพัทลุง วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ multiple logistic regression analysis จากการศึกษาพบว่า อาชีพของมารดาและลำดับที่ของการ ตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์ต่อภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ในเด็กอายุ 5 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเด็กที่มีมารดาไม่ประกอบอาชีพเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ประมาณ 3 เท่า เมื่อเทียบกับเด็กที่มารดามีอาชีพเกษตรกรรม ค้าขาย หรือรับจ้าง (OR=3.31, 95%CI: 1.11 ถึง 9.87) และเด็กที่คลอดในลำดับครรภ์ที่ 1 มีความเสี่ยงต่อภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ประมาณ 2 เท่า เมื่อเทียบกับเด็กที่มีลำดับครรภ์ที่ 2 ขึ้นไป (OR=2.14, 95%CI: 1.16 ถึง 3.96) จากผลการศึกษาดังกล่าว บุคลากรสาธารณสุขควรมีการเฝ้าระวังและติดตามเด็กที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ โดยเฉพาะปัจจัยด้านมารดาและทารก การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและการดูแลภาวะโภชนาการของเด็กโดยเน้นในกลุ่มมารดาที่ไม่ประกอบอาชีพและเด็กที่คลอดในลำดับที่ 1 ของการตั้งครรภ์ เพื่อลด ปัญหาและผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของเด็กวัยก่อนเรียน ต่อไป
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2018 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.