การประยุกต์ Logic Model เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเยาวชน
คำสำคัญ:
ทีมสุขภาพ, มาตรการสังคม, พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551, ร้านค้า, องค์การบริหารส่วนตำบล, วิจัยเชิงปฏิบัติการบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เพื่อให้ทราบรูปแบบการดำเนินงานป้องกัน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนเขตชนบทและเพื่อประเมินความสำเร็จในรูปแบบฯ เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ มี 2 ระยะ ได้แก่ ระยะพัฒนา รูปแบบการดำเนินงานฯ ในตำบลสมุด อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ อาสาสมัครถูกคัดเลือกตามคุณสมบัติ 2 กลุ่มได้แก่ (1) ทีมพี่เลี้ยง 7 คน และ (2) ทีมสุขภาพตำบล 80 คน และระยะประเมินผล ประเมินความสำเร็จฯ ในอาสาสมัคร 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) ทีมสุขภาพตำบล 72 คน (2) เยาวชน 182 คน และ (3) ผู้ประกอบการร้านค้า 34 คน ทำการศึกษาในเดือนกรกฎาคม 2557 - กรกฎาคม 2559 โดยระยะพัฒนารูปแบบ พบว่า การดำเนินงานฯ เป็นรูปแบบ "กลไกทีม สุขภาพประจำตำบล" ซึ่งทีมสุขภาพตำบลเข้ามามีบทบาทหลักใน 4 กิจกรรม ได้แก่ (1) สร้างสื่อประชาสัมพันธ์ (2) รณรงค์สร้างกระแส (3) สร้างความรู้ ความตระหนัก การรับรู้ด้านกฎหมายและกฎระเบียบชุมชน และ (4) ติดตามตรวจเยี่ยม เฝ้าระวังการกระทำผิดกฎระเบียบในรูปแบบคณะกรรมการ ซึ่งทีมพี่เลี้ยงเป็นผู้สนับสนุนด้านวิชาการ ระยะประเมินผลพบว่า ความคงอยู่ของการดำเนินกิจกรรมของทีมสุขภาพอยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 62.5 ความรู้เกี่ยวกับมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนอยู่ในระดับดี ร้อยละ 47.8 การรับรู้มาตรการฯ ของผู้ประกอบการ ร้านค้าในระดับดี ร้อยละ 91.8 ไม่พบการโฆษณาเกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บริเวณร้านค้าร้อยละ 94.1การทำงานโดยใช้ทีมสุขภาพจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการบังคับใช้กฎหมาย
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2018 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.