ผลของโปรแกรมการพยาบาลเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจ ต่อการปรับตัวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนด
คำสำคัญ:
โปรแกรมการพยาบาลเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจ, การปรับตัวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, มารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการพยาบาลเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการปรับตัวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาที่มีทารกคลอด ก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาที่คลอดทารกคลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ และทารกได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักเด็ก โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จำนวน 40 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 20 คน กลุ่มทดลอง 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามการปรับตัวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และแบบประเมินแหล่งพลังอำนาจของมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนดซึ่งได้ผ่านการทดสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน และนำไปทดสอบความเที่ยงกับมารดาที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คนได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.81 และ 0.76 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเปรียบเทียบหาค่าที (independent t-test) กำหนดความเชื่อมั่นทางสถิติที่ระดับ 0.01 การดำเนินการวิจัยเริ่มหลังจากผ่านการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของโรงพยาบาลพระนคร-ศรีอยุธยา และกลุ่มตัวอย่างลงนามใบยินยอมการเข้าร่วมในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่าการปรับตัวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนดที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการปรับตัวสูงกว่ากลุ่มมารดาที่ได้รับการพยาบาลตามมาตรฐานปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลการศึกษาสนับสนุนผลของโปรแกรม จึงควรส่งเสริมการนำโปรแกรมการพยาบาลเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการปรับตัวในการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ของมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนดไปประยุกต์ในทางปฏิบัติการพยาบาล เพื่อส่งเสริมความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกคลอดก่อนกำหนด
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.