ผลของการควบคุมความดันโลหิตโดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้านของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอำเภอเมืองยโสธร
คำสำคัญ:
การควบคุมความดันโลหิต, โรคความดันโลหิตสูง, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบทคัดย่อ
โรคความดันโลหิตสูงเป็นภาวะเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด มีแนวโน้มผู้ป่วยที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้สูงขึ้นการศึกษาแบบ quasi experiment ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการควบคุมความดันโลหิตโดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้านของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่รับยาที่โรงพยาบาล-ส่งเสริมสุขภาพตำบลอำเภอเมืองยโสธร จำนวน 40 คน เครื่องมือประกอบด้วยแบบประเมินความรู้และพฤติกรรม แบบประเมินความพึงพอใจ เครื่องวัดความดันโลหิต และแบบบันทึกค่าความดันโลหิต วิธีการศึกษา ประกอบด้วยพัฒนา ศักยภาพผู้ป่วย ญาติ และอาสาสมัครสาธารณสุข สอบเทียบเครื่องวัดความดันและดำเนินการวัดความดันโลหิตที่บ้านโดยตัวผู้ป่วย หรือญาติ หรืออาสาสมัครสาธารณสุข เดือนละ 4 วันติดต่อกัน ช่วงเช้าสองครั้ง ช่วงเย็นสองครั้ง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2558- พฤษภาคม 2559 ติดตามการบันทึกข้อมูลและการวัดความดันโลหิตโดยการ ให้คำปรึกษาผ่านระบบ Line หรือโทรศัพท์ เยี่ยมบ้านโดยอาสาสมัครสาธารณสุขทุกสัปดาห์ และเยี่ยมโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เดือนละ 2 ครั้งและประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ dependent t-test ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001, Mean difference=6.00; 95%CI=5.6-6.4) และ(p<0.001, Mean difference=3.12; 95%CI=2.4-3.9) ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจพบว่า มีความพึงพอใจในการใช้รูปแบบในระดับมาก (Mean=4.12, SD=0.219) นอกจากนี้ยังพบว่า หลังการทดลอง ระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวและความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001, Mean difference=10.08; 95%CI= 7.89-12.26) และ (p<0.001, Mean difference=12.17; 95%CI=9.84-14.51) ตามลำดับ ข้อเสนอแนะผลของการควบคุมความดันโลหิตโดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้านในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ทำให้ผู้ป่วยมีความตื่นตัวและตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้จริง ซึ่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งควรมีการนำรูปแบบนี้ ไปใช้อย่างต่อเนื่องและควรนำไปใช้กับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงด้วย เพื่อทำให้กระทรวงสาธารณสุข และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการจัดหาเครื่องวัดความดันโลหิตไว้ใช้ประจำบ้านต่อไป
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2018 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.