การพัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณีในการดูแล ผู้ป่วยโรคหืด โรงพยาบาลเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การจัดการรายกรณี, ผู้ป่วยโรคหืด, จำนวนวันนอน, การกลับมารักษาซ้ำภายใน 7 วันบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณีในการดูแลผู้ป่วยโรคหืด ศึกษาความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ ผู้ป่วยโรคหืด จำนวนวันนอน และการกลับมารักษาซ้ำภายใน 7 วัน ต่อรูปแบบการจัดการรายกรณีในการดูแลผู้ป่วยโรคหืด กลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบเจาะจงประกอบด้วย 3 กลุ่มคือ ทีมสหสาขาวิชาชีพพยาบาลวิชาชีพจำนวน 10 คน และผู้ป่วยโรคหืดจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ศึกษาประกอบด้วย แนวทางการสนทนา-กลุ่ม แบบบันทึกจำนวนวันนอน การกลับมารักษาช้ำภายใน 7 วัน และแบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับผู้ป่วยโรคหืด ทีมสหสาขาวิชาชีพ และพยาบาลวิชาชีพ มีค่าความเที่ยงที่ 0.372, 0.813 และ 0.879 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนา การเปรียบเทียบความพึงพอใจสำหรับผู้ป่วยโรคหืดก่อนและหลังการพัฒนาใช้สถิติ Mann-Withney U test การเปรียบเทียบความพึงพอใจสำหรับพยาบาลและทีมสหสาขาวิชาชีพก่อนและหลังการพัฒนาใช้สถิติ Wilcoxon signed ranks test ผลการศึกษาพบว่า (1) การพัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณีในผู้ป่วยโรคหืดเป็นแบบ hospital case management มีพยาบาลวิชาชีพเป็น manager ปฏิบัติร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ (2) พยาบาลวิชาชีพและ ผู้ป่วยโรคหีดมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการรายกรณี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) จำนวนวันนอนของกลุ่มตัวอย่างหลังใช้รูปแบบลดลง (4) การกลับมารักษาซ้ำภายใน 7 วันของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังใช้รูปแบบการจัดการรายกรณีไม่แตกต่างกัน โดยสรุป รูปแบบการจัดการรายกรณีในการดูแลผู้ป่วยโรคหืด ที่ได้พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคหืดโรงพยาบาลเชียงยืนได้จริง พยาบาลวิชาชีพและผู้ป่วยโรคหีดมีความพึ่งพอใจต่อรูปแบบการจัดการรายกรณี ทำให้จำนวนวันนอนรักษาลดลง
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2018 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.