การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยจิตเภท

ผู้แต่ง

  • ไพจิตร พุทธรอด โรงพยาบาลปะเหลียน จังหวัดตรัง

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยจิตเภท, รูปแบบ psychiaric mobile clinic, กระบวนการดูแลต่อเนื่อง, การกำเริบซ้ำ

บทคัดย่อ

โรคจิตเภทเป็นโรคเรื้อรังทางจิตเวชที่ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการรักษาด้วยยาทาง จิตเวช การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบของการรับยาใกล้บ้าน "psychiatric mobile clinic" ในผู้ป่วยโรคจิตเภทในอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง โดยใช้แนวทางการดำเนินการและผลผลิตการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสุขภาพจิต 7 ขั้นตอนของกรมสุขภาพจิตเป็นกรอบในการพัฒนารูปแบบของ psychiatric mobile clinic และผลลัพธ์ของกระบวนการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยโรคจิตเภท กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคจิตเภทที่อาศัยอยู่ในตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง จำนวน 42 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกการติดตามดูแลผู้ป่วย จิตเภทที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบประเมินความสามารถโดยรวม และแบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย เปรียบเทียบผลลัพธ์ด้านต่างๆ ด้วยสถิติ Chi-square ผลการวิจัยพบว่า การปรับรูปแบบการรับยาใกล้บ้านและการดูแลต่อเนื่องเป็นผลให้ผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนมีอาการกำเริบซ้ำลดลงและลดการส่งต่ออย่างมีนัยสำคัญผลลัพธ์ในภาพรวมของการดูแลต่อเนื่องได้แก่ การรับประทานยา การเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน ระดับคะแนนของความสามารถโดยรวม และคุณภาพชีวิตก่อนและหลังพัฒนา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น รูปแบบการดูแลดังกล่าว ช่วยให้ผู้ป่วยจิตเภทได้รับยาต่อเนื่อง ลดอาการกำเริบและการกลับเป็นซ้ำที่รุนแรง และการดูแลต่อเนื่องในชุมชนโดยเครือข่ายมีส่วนร่วมเป็นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยจิตเภทมีคุณภาพชีวิตและระดับความสามารถโดยรวมดีขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2018-07-03

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ