ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการออกกําลังกายกับภาวะสุขภาพของผู้หญิงวัยกลางคนในชุมชน

ผู้แต่ง

  • พัชรินทร์ บุญรินทร์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เพ็ญนภา อุ่นสนิท โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • มณี อาภานันทิกุล โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการออกกำลังกาย, ภาวะสุขภาพ, ผู้หญิงวัยกลางคนในชุมชน

บทคัดย่อ

การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมการดูแลสุขภาพที่สำคัญในการที่จะทำให้มีสุขภาพดีได้ เนื่องจากการออกกำลังกายสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง ช่วยควบคุมน้ำหนัก เพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อและทำให้จิตใจแจ่มใส ปัจจุบันพบว่า ผู้หญิงวัยกลางคนที่อยู่ในชุมชนส่วนหนึ่งมีการออกกำลังกาย และอีกส่วนหนึ่ง มีภารกิจที่ต้องทำทั้งภายในและภายนอกบ้านมากจนไม่มีเวลาออกกำลังกาย ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพได้ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการออกกำลังกายกับภาวะสุขภาพของสตรีวัยกลางคนในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้หญิงวัยกลางคนอายุ 35-60 ปี อาศัยในชุมชนแห่งหนึ่งของจังหวัดนครปฐม จำนวน 342 คน โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล พฤติกรรมการออกกำลังกายและภาวะสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้หญิงวัยกลางคนในชุนชนมีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพ (สุขภาวะทางกาย ทางจิตใจทางสังคม และทางจิตวิญญาณ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนี้ สุขภาวะทางกาย ประกอบด้วยดัชนีมวลกาย (r=-0.144)ระดับความอ้วน (r=-0.145) ระดับไขมันที่เกาะตามอวัยวะภายในช่องท้อง (r=-0.122) และภาวะสุขภาพกาย (r=0.112) ส่วนสุขภาวะทางจิตใจได้แก่ ความเครียด (r=-0.192) ความสุข (r=0.122) และภาวะสุขภาพด้านจิตใจ (r=0.114) สำหรับสุขภาวะทางสังคม ได้แก่ สัมพันธภาพกับผู้อื่น (r=0.175) และสุขภาวะทางจิตวิญญาณ ได้แก่ภาวะสุขภาพด้านจิตวิญญาณ (r=0.132) จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงวัยกลางคนในชุมชนที่มีพฤติกรรมการออกกำลังกายสูงก็ส่งผลให้มีภาวะสุขภาพดีทั้งสุขภาวะทางกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ดังนั้น พยาบาลควรส่งเสริมให้ผู้หญิงวัยกลางคนออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องด้วยการสอนให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกาย ที่เหมาะสมกับผู้หญิงวัยกลางคนให้สามารถนำไปปฏิบัติได้ เพื่อส่งผลให้มีสุขภาวะที่ดีและยั่งยืนได้

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-11-09

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ