การประเมินโครงการแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีน ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ด้วยการประยุกต์ใช้ ทฤษฎีระบบ CIPPI Model

ผู้แต่ง

  • คงฤทธิ์ วันจรูญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
  • สุภัทรา สามัง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
  • วิมลรัตน์ ภูผาสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การประเมินโครงการ, โรคขาดสารไอโอดีน, ทฤษฎีระบบ CIPPI Model

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างกลไกความร่วมมือเชิงบูรณาการของภาคีเครือข่ายทุกระดับในการ ขับเคลื่อนตำบลจัดการสุขภาพ ควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน และประเมินภาพรวมความสำเร็จของโครงการ ด้วยทฤษฎีระบบ CIPPI Model เก็บข้อมูลจากการสังเกต สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม รับฟังการนำเสนอ สุ่มตรวจ คุณภาพเกลือเสริมไอโอดีน และส่งตัวอย่างสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2558 ถึงกรกฎาคม 2559กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ (1) กลุ่มเป้าหมายเชิงพื้นที่ (2) บุคคลแกนนำที่มีภาระงานสอดคล้องกับโครงการ และ (3) กลุ่ม-เป้าหมายตามตัวชี้วัดโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า (1) บริบททางสังคมประชาชนทุกกลุ่มัยยังมีปัญหาการเข้าถึงเกลือเสริมไอโอดีน โดยเฉพาะกลุ่มหญิงก่อนการตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ช้าและขาดความตระหนักกลัวต่อผลกระทบในระยะยาวที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก (2) ปัจจัยนำเข้า การถ่ายทอดและ ขับเคลื่อนนโยบายเชิงบูรณาการที่ชัดเจนสู่การปฏิบัติในทุกพื้นที่ ด้วยการสนับสนุนงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอ (3) กระบวนการ กำหนดเป้าหมายและวางมาตรการร่วมกันทั้งจังหวัด ได้แก่ การขับเคลื่อนอำเภอไอโอดีนเชิงบูรณาการ การเฝ้าระวังมาตรฐานสถานที่ผลิตและการกระจายเกลือเสริมไอโอดีนที่มีคุณภาพ การสร้างกระแสประเด็นไอโอดีนเป็นวาระการพัฒนาในทุกระดับ การสร้างความเป็นเจ้าของให้ท้องถิ่นขับเคลื่อนตำบลจัดการโรคขาด-สารไอโอดีนทุกกลุ่มวัย และการมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในกลุ่มวัยเป้าหมายสำคัญที่สามารถส่งผ่านสุขภาพดีในกลุ่มวัยต่อไป (4) ผลลัพธ์ เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานพบว่า ค่า thyroid stimu-lating hormone ในทารกแรกเกิดที่มีค่ามากกว่า 11.2 มิลลิยูนิตต่อลิตร (mU/L) เท่ากับร้อยละ 8.4 (เกณฑ์น้อยกว่า ร้อยละ 3.0) ค่ามัธยฐานไอโอดีนในปัสสาวะหญิงตั้งครรภ์ 141.8 ไมโครกรัมต่อลิตร (ug/L) (เกณฑ์ 150.0 ug/L)ความครอบคลุมการกินยาเม็ดเสริมไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ 88.8 (เกณฑ์ร้อยละ 100.0) การฝากครรภ์ก่อน12 สัปดาห์ ร้อยละ 60.1 (เกณฑ์ร้อยละ 60.0) ความครอบคลุมการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนในครัวเรือน ร้อยละ 91.9 (เกณฑ์ ร้อยละ 90.0) คุณภาพเกลือเสริมไอโอดีนในครัวเรือน ร้อยละ 71.9 (เกณฑ์ร้อยละ 90.0) คุณภาพเกลือเสริมไอโอดีน ณ แหล่งผลิต ร้อยละ 100.0 (เกณฑ์ ร้อยละ 100.0) อำเภอผ่านเกณฑ์การประเมินรับรองอำเภอ-ไอโอดีน ร้อยละ 100.0 (เกณฑ์ร้อยละ 100.0) และ (5) ด้านผลกระทบ ท้องถิ่นมีบทบาทในการจัดการสุขภาพตนเองมากขึ้น และ กลุ่มเป้าหมายสำคัญได้รับการดูแล ต่อเนื่องถึงบ้านที่ครอบคลุมและเข้าถึงสารไอโอดีนอย่างมีคุณภาพ ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมทุกกลุ่มวัยให้ได้รับสารไอโอดีนที่เพียงพอ กระตุ้นการฝากครรภ์เร็ว มีกระบวนการแก้ไขปัญหา พัฒนาการเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และสะท้อนข้อมูลคืนกลับให้แก่ท้องถิ่นและทีมหมอครอบครัวเพื่อเฝ้าระวังติดตามการเสริมสารไอโอดีน และกระตุ้นพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลที่ครอบคลุมมีคุณภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2018-08-24

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ