ประสิทธิผลของการใช้ถุงเก็บปัสสาวะที๋ทำจากถุงพลาสติก
คำสำคัญ:
ถุงพลาสติก, ถุงเก็บปัสสาวะบทคัดย่อ
ปัญหาในการปฏิบัติงานรักษาพยาบาลคือ การเก็บปัสสาวะเด็กส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเก็บได้ยากเนื่องจากเด็กไม่ให้ความร่วมมือ และไม่มีถุงเก็บปัสสาวะสำหรับเด็กที่ได้มาตรฐาน ต้องใช้เวลาในการเก็บปัสสาวะเด็กส่งตรวจเป็นเวลานานโดยเฉลี่ย 4 ชั่วโมง ส่งผลให้ได้รับการวินิจฉัยล่าช้าเพื่อแก้ไขปัญหา จึงประดิษฐ์ "ถุงเก็บปัสสาวะลูกรัก" แทนการเก็บปัสสาวะแบบเดิม และศึกษาประสิทธิผลของถุงเก็บปัสสาวะที่ประดิษฐ์นี้ ครอบคลุมเรื่อง ทุน เวลา การนำมาใช้และการดูแลรักษา การเกิดภาวะแทรกซ้อนและความพึงพอใจ โดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนาระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2559 ในกลุ่มเด็กอายุ 0-3 ปี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ฉบับ คือ ถุงเก็บปัสสาวะลูกรัก และแบบประเมินความพึงพอใจ ผลการศึกษาพบว่า (1) ด้านทุนและการเก็บรักษา: มีต้นทุนการจัดทำ 1 บาท เทียบกับถุงเก็บปัสสาวะจากบริษัทเอกชนซึ่งมีการขายชิ้นละมากกว่า 10 บาท จึงประหยัดและคุ้มทุนกว่า ไม่ต้องรอแผนการจัดซื้อประจำปี ถุงเก็บปัสสาวะถือเป็นวัสดุใช้แล้วทิ้ง จึงประหยัดและคุ้มทุนกว่า (2)การนำมาใช้และระยะเวลา: ถุงปัสสาวะลูกรักสามารถเก็บปัสสาวะได้ทุกเวลาเมื่อเด็กปัสสาวะ ทำให้การวินิจฉัยโรครวดเร็ว ขึ้นกว่าเดิม ปัสสาวะไม่รั่วซึม ใช้งานง่ายเพียงแค่แกะแถบกาวออกและแปะผิวหนังรอบ ๆ อวัยวะสืบพันธุ์ ลักษณะถุงจะบาง เรียวแบนแนบตามสรีระบริเวณขาหนีบ ทำให้รู้สึกสุขสบายมากกว่าถุงปัสสาวะที่จัดซื้อบริษัท มีขีดวัดปริมาตร ติดไว้ที่ถุงเพื่อสามารถดูปริมาตรของปัสสาวะ (3) การเกิดภาวะแทรกซ้อนและความพึงพอใจ :มารดาเด็กและผู้ให้บริการ มีความพึงพอใจต่อการใช้ถุงปัสสาวะลูกรัก ร้อยละ 100.0 และ ไม่เกิดข้อร้องเรียน ไม่พบภาวะแทรกซ้อนในผู้รับบริการ
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2018 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.