ภาวะน้ำดีคั่งจากการได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดในทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม
คำสำคัญ:
สารอาหารทางหลอดเลือด, ภาวะน้ำดีคั่ง, สัดส่วนของ non-protein calories:nitrogenบทคัดย่อ
การรับสารอาหารทางหลอดเลือด (parenteral nutrition: PN) ในทารกมีผลแทรกซ้อนที่พบบ่อยคือภาวะน้ำดีคั่งจาก PN (parenteral nutrition-associated cholestasis: PNAC) ซึ่งเกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างร่วมกันที่สำคัญคือสารอาหารโดยเฉพาะสัดส่วนของพลังงานจากอาหารที่ไม่ใช่โปรตีนกับไนโตรเจนที่ได้จากโปรตีน (non-protein calories: nitrogen; NPcal:N ratio) จึงมีโอกาสที่จะใช้ค่านี้วิเคราะห์หาความสัมพันธ์เพื่อทำนายความเสี่ยงต่อการเกิด PNAC งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของ NPcal:Nratio กับการเกิด PNAC ของทารกแรกเกิด ทำการศึกษา ข้อมูลย้อนหลัง 8 ปีจากเวชระเบียนของทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัมและได้ PN 14 วันขึ้นไปโดยกำหนดเกณฑ์ตัดสิน PNAC ที่ผลตรวจเลือดพบบิลลิรูบินทั้งหมดตั้งแต่ 2 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป และพบ บิลลิรูบินชนิดตรงเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 20.0 ของบิลลิรูบินทั้งหมดระหว่างที่ได้ PN ปัจจัยเสี่ยงที่ศึกษาคือเพศอายุครรภ์ น้ำหนักแรกเกิด การประเมินสภาวะเด็กแรกเกิดที่ 1 และ 5 นาทีแรก การติดเชื้อในกระแสเลือด การได้รับการ ผ่าตัด โรคปอดเรือรัง โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน ภาวะลำไส้อักเสบเน่าตาย ภาวะหายใจลำบาก ระยะเวลาที่ได้ PN อายุที่เริ่มได้รับสารอาหารผ่านทางเดินอาหาร พลังงานทั้งหมดที่ได้รับ ปริมาณโปรตีนและไขมันทั้งหมดที่ได้รับ พลังงานที่ได้รับจากคาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีนและสารอาหารที่ไม่ใช่โปรตีน glucose infusion rate (GIR), NPcal:N ratio ที่มากกว่า 80:1, 100:1, 125:1, 150:1 และ 180:1 โดยผู้ป่วยถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มเกิดและไม่เกิด PNAC ทดสอบความแตกต่างระหว่างปัจจัยดังกล่าวของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มโดยทำการวิเคราะห์ univariate เพื่อเลือกปัจจัยเสี่ยงที่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) มาทำการวิเคราะห์ต่อด้วย multivariable logistic regression โดยวิธี backward เพื่อหาปัจจัยเสี่ยง ที่มีความสัมพันธ์ต่อเกิด PNAC ที่มีนัยสำคัญทางสถิติแล้ววิเคราะห์ด้วย receiver operating characteristic curve ผลการ ศึกษาพบว่าผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่ได้ PN จำนวน 975 คน มีผู้ป่วยตรงตามเกณฑ์การคัดเข้าจำนวนทั้งสิ้น 278 คนและในจำนวนนี้พบ PNAC 92 คน (ร้อยละ 9.44) ซึ่งจากการ วิเคราะห์ univariate พบว่า เพศ การประเมินสภาวะเด็กแรก-เกิดที่ 1 นาทีแรก การติดเชื้อในกระแสเลือด โรคปอดเรื้อรัง ภาวะลำไส้อักเสบเน่าตาย ระยะเวลาที่ได้ PN อายุที่เริ่มได้รับสารอาหารผ่านทางเดินอาหาร ปริมาณโปรตีนทั้งหมดที่ได้รับ พลังงานที่ได้รับจากโปรตีน ปริมาณไขมันทั้งหมดที่ได้รับ GIR พลังงานที่ได้รับจากสารอาหารที่ไม่ใช่โปรตีน พลังงานทั้งหมดที่ได้รับและ NPcal:N ratio ที่มากกว่า 125:1 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่า NPcal:N ratio ที่มากกว่า 125:1 (OR=1.923; CI=1.073-3.446) ระยะเวลาที่ได้ PN มากกว่า 14 วัน (OR =1.077; C1-1.041-1.115) และอายุ ที่เริ่มได้ EN ตั้งแต่ 5 วันหลังคลอด (OR=1.100; CI=1.023-1.183) มีความสัมพันธ์กับการเกิด PNAC อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติและเมื่อวิเคราะห์ด้วย ROC curve พบว่า มีค่าความสัมพันธ์ที่มีโอกาสใช้ทำนายการเกิด PNAC ได้สูงถึงร้อยละ 71.4 จากผลการศึกษา ที่ได้สามารถจะให้ข้อมูลส่วนหนึ่งเพื่อช่วยเป็นแนวทางในการลดความเสี่ยงของการเกิด PNAC โดยการเฝ้าระวังไม่ให้ NPcal:N ratio เกิน 125:1 ร่วมกับลดระยะเวลาที่ได้ PN ลงไม่ให้เกิน 14 วันและเริ่มให้ผู้ป่วยได้ EN ที่เร็วขึ้นภายใน 4 วันหลังคลอด แต่ทั้งนี้ภาวะดังกล่าวจำเป็นต้องมีการประเมินปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วยอีกมาก
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2018 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.