ความชุกของการมีภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบ โรคหัดและโรคหัดเยอรมัน ในแรงงานข้ามชาติเมียนมา กัมพูชาและลาว ในประเทศไทย
คำสำคัญ:
โรคคอตีบ, โรคหัด, โรคหัดเยอรมัน, ความชุกของการมีระดับภูมิคุ้มกันต่อโรค, แรงงานข้ามชาติบทคัดย่อ
การให้วัคซีนเป็นกลยุทธ์สําคัญที่ช่วยลดอัตราป่วยและเสียชิวิตด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง หากจะควบคุมการแพร่ระบาดของโรคให้ได้นั้นต้องคํานึงถึงปัจจัยความสําเร็จคือ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้เพียงพอจนถึงระดับภูมิคุ้มกันโรคในชุมชน (herd immunity) ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา พบการกลับมาระบาดของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในหลายพื้นที่ สาเหตุหนึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการเคลื่อนย้ายของแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะแรงงานที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนที่มีจํานวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความชุกของระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบ โรคหัด และโรคหัดเยอรมัน โดยการวัดระดับแอนติบอดีชนิดไอจีจี (IgGantibody) จากตัวอย่างนํ้าเหลืองของกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นแรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติ ได้แก่ เมียนมา กัมพูชาและลาวที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป รับจ้างอยู่ในสถานประกอบการประเภทโรงงานและตลาดค้าส่งสินค้าทางเกษตรขนาดใหญ่ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี โดยมีรูปแบบการศึกษาเป็นการสํารวจแบบภาคตัดขวาง ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนโดยทําการเลือกสถานที่ศึกษาจํานวน 10 แห่ง จากนั้นเลือกบุคคลแบบเจาะจงในแต่ละสถานที่มาเข้าร่วมการศึกษาโดยได้กลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 400 ราย และทําการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบทางสถิติ ANOVA หรือ Kruskal-Wallis test สําหรับตัวแปรต่อเนื่อง ส่วนตัวแปรจัดกลุ่มใช้ Chi-square test หรือ Fisher’s exact test ผลการศึกษาพบว่าความชุกของระดับภูมิคุ้มกันที่เพียงพอต่อการป้องกันโรคโดยรวมของกลุ่มตัวอย่างทั้งสามเชื้อชาติอยู่ในระดับสูงเมื่อจําแนกเป็นรายโรค พบมีระดับภูมิคุ้มกันเพียงพอต่อการป้องกันโรคหัดสูงสุด ร้อยละ 92.19 รองลงมา คือโรคคอตีบ (86.25) และโรคหัดเยอรมัน (75.13) โดยแรงงานสัญชาติลาวมีระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบสูงที่สุด(ร้อยละ 88.12) ในขณะที่แรงงานสัญชาติเมียนมามีระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคหัดและหัดเยอรมันสูงที่สุด (ร้อยละ 94.67 และ 81.17 ตามลําดับ) ข้อเสนอแนะจากการศึกษาคือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีความจําเป็นจะต้องจัดบริการเชิงรุกในด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบ หัด และหัดเยอรมันให้กับแรงงานสามสัญชาติดังกล่าวที่อยู่ในวัยทํางานแต่ยังมีความจําเป็นที่จะต้องจัดบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้กับกลุ่มเด็กที่เป็นผู้ติดตามของกลุ่มแรงงานดังกล่าว
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2018 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.