ประสิทธิผลการควบคุมอาการหอบของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหลังการพัฒนาระบบบริการของโรงพยาบาลในจังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ระบบบริการบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการพัฒนาระบบบริการการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังของโรงพยาบาลในจังหวัดบุรีรัมย์ต่อประสิทธิผลการควบคุมอาการหอบของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ระหว่าง 1 ตุลาคม 2555 - 30 กันยายน 2558 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังของโรงพยาบาลในจังหวัดบุรีรัมย์ รวมทั้งหมด 23 โรงพยาบาล และมารับบริการอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี วิธีดําเนินการคือศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์เดิม พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นแบบทีมสหสาขาวิชาชีพ ทดลองปฏิบัติ ประเมินผลและขยายไปในเครือข่ายโรงพยาบาลในจังหวัดบุรีรัมย์ เครื่องมือที่ใช้คือแนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและแนวทางการรับส่งต่อผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สถิติที่ใช้คือร้อยละและ Chi–square ผลการศึกษาทําให้ได้ระบบบริการการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังของโรงพยาบาลในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยเป็นบริการแบบทีมสหสาขาวิชาชีพมีการกําหนดหน้าที่ของทีมสุขภาพไว้ชัดเจน ประสานเชื่อมโยงการดูแลผู้ป่วยระหว่างหน่วยงาน ทีมสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้พัฒนาเครือข่าย จัดทําแนวทางการดูแลผู้ป่วย การรับ-ส่งต่อผู้ป่วย เป็นที่ปรึกษาให้แก่โรงพยาบาลลูกข่าย จัดอบรมให้ความรู้ ฝึกปฏิบัติ การตรวจสมรรถภาพปอด การสูดพ่นยา การฝึกบริหารปอด ฝึกการหายใจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยพัฒนาระบบ IT ตลอดจนการติดตามนิเทศการดําเนินงานของโรงพยาบาลลูกข่ายผลการศึกษามีผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังรับบริการบําบัดรักษาในปี 2556 จํานวน 5,174 คน ปี 2557 จํานวน 5,755 คน และปี 2558 จํานวน 5,855 คน ซึ่งได้รับการรักษาตามรูปแบบที่พัฒนา เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการควบคุมอาการหอบของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พบว่า อัตราการนอนโรงพยาบาล อัตราการรับไว้รักษาซํ้าใน 28 วันลดลงกว่าก่อนการพัฒนาระบบบริการอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p=0.000) ร้อยละผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ยังสูบบุหรี่เลิกบุหรี่ได้เมื่อได้รับบริการในคลินิกอดบุหรี่เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการพัฒนาระบบบริการอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p=0.000) ส่วนอัตราตายของผู้ป่วยที่รับไว้ในโรงพยาบาลก่อนและหลังการพัฒนาระบบบริการไม่แตกต่างกัน(p=0.096) ดังนั้นควรเปิดบริการคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและดูแลผู้ป่วยแบบทีมสหสาขาวิชาชีพโดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของพยาบาลผู้ที่ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และควรขยายเครือข่ายการให้บริการครบทุกโรงพยาบาลตั้งแต่ระดับปฐมภูมิไปจนถึงระดับตติยภูมิ ให้บริการเชิงรุกเพื่อค้นหาผู้ป่วยที่มีอาการยังไม่รุนแรง และรณรงค์เรื่องการเลิกสูบบุหรี่อย่างจริงจัง ซึ่งจําเป็นต้องอาศัยความร่วมมือหลายฝ่าย ทั้งผู้ป่วยและญาติ เจ้าหน้าที่บุคลากรสุขภาพทุกระดับจึงจะเกิดประสิทธิผลในการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2018 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.