การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านด้วยกระบวนการ 1A4C ต่อความสามารถในการดําเนินชีวิตประจําวัน

ผู้แต่ง

  • ภควันต์ จันต๊ะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลปอน อําเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
  • นิรัชกร ท้าวอาจ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลปอน อําเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
  • นันท์ธภร เปาป่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลปอน อําเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
  • วิลาพร ใหม่ยะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลปอน อําเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน

คำสำคัญ:

การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน, แนวคิด1A4C, ความสามารถในการดําเนินชีวิตประจําวัน (ADL)

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลปอน ตามแนวคิด 1A4C ในกลุ่มชาติพันธุ์ขมุ ไทลื้อ เหาะและลัวะ และศึกษาผลลัพธ์ในประเด็น ความสามารถในการดําเนินชีวิตประจําวัน (activity daily living - ADL) ของผู้ป่วย การรับรู้คุณค่าการดูแลผู้ป่วยที่บ้านตามแนวคิด 1A4C ความเครียดและความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติกลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 7 ราย/ครอบครัว และญาติผู้ดูแล 48 ราย รวม 55 ราย ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ขมุ 19 ราย กลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ 14 ราย กลุ่มชาติพันธุ์เหาะ 14 ราย และกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ 8 ราย ซึ่งอาศัยอยู่ในชุมชนตําบลปอน อําเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2558 เครื่องมือการวิจัยคือรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านตามแนวคิด 1A4C แบบประเมินความสามารถในการดําเนินชีวิตประจําวันตามดัชนีบาร์เธล ADL แบบประเมินการรับรู้คุณค่าการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ตามแนวคิด 1A4C แบบประเมินความพึงพอใจและแบบวัดความเครียดโรงพยาบาลสวนปรุง ใช้การวิเคราะห์อุปนัย: analytic Induction ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านตามแนวคิด 1A4C ในกลุ่มชาติพันธุ์ คือ accessibility: มีอาสาสมัครล่ามแปลภาษา เบอร์โทรศัพท์ติดไว้ทุกหลังคาเรือน อบต.ช่วยในการส่งต่อผู้ป่วย continuity: ญาติแจ้งอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อส่งต่อข้อมูล อสม. นําปัญหาไปแจ้งให้ทีมหมอครอบครัว นายก อบต. ลงเยี่ยม comprehensiveness: มีการนิมนต์พระสงฆ์และเชิญหมอผีสวดอโหสิกรรมเจ้ากรรมนายเวร co–ordination: มีการประสานการดูแลกับหมอพื้นบ้าน community participation: นายก อบต. นําข้อมูลไปขอความช่วยเหลือจากพัฒนาสังคมผู้นําชุมชน/อสม. ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น ทําราวหัดเดิน กะลาชักคะเย่อ ยางยืดเหยียดแขน ถุงน่องถั่วเขียวบีบมือ (2) ด้านผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย หลังได้รับการดูแลช่วยเหลือตามรูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ตามแนวคิด 1A4Cพบว่า ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการปฐมภูมิ และทําให้ผู้ป่วย 5 รายประสบผลสําเร็จในการฟื้นฟูสภาพ ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ขมุ และไทลื้อ ปัจจัยความสําเร็จสําคัญคือการเข้าถึงบริการสุขภาพภายในเวลา 14 วัน และการได้รับการดูแลใกล้ชิดจากญาติและ อสม. แต่พบว่ามีผู้ป่วย 2 รายจากกลุ่มชาติพันธุ์เหาะและลัวะ ที่ไม่ประสบความสําเร็จในการฟื้ นฟูสภาพเนื่องจากยังยึดติดกับประเพณีและความเชื่อเดิมๆ จึงปฏิเสธการรักษาในระยะแรก ทําให้เข้าถึงบริการช้าและทําให้ผู้ป่วยพื้นฟูสภาพค่อนข้างช้า (3) ผู้ป่วยกลับไปอยู่ในกลุ่มที่ไม่เป็นการพึ่งพา และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ถึง 5 ราย (ร้อยละ 71.43) (4) ผู้ป่วยและญาติส่วนใหญ่รับรู้คุณค่าการดูแลผู้ป่วยที่บ้านในระดับที่มีคุณค่ามากที่สุด (ร้อยละ 96.50) (5) ผู้ป่วยและญาติส่วนใหญ่มีคะแนนความเครียดอยู่ในระดับเครียดน้อย (ร้อยละ 92.73) (6) ผู้ป่วยและญาติทุกรายมีความพึงใจในระดับมากที่สุด (ร้อยละ 100.00) เนื่องจากสามารถลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลเฉลี่ย 2,000 บาท/ราย จากผลการวิจัยเสนอแนะให้มีการใช้รูปแบบการดูแลสุขภาพที่บ้านด้วยกระบวนการ 1A4C กับผู้ป่วยภายใน 14 วัน หลังการเจ็บป่วย และขยายแนวทางสู่พื้นที่ตําบลงอบและตําบลทุ่งช้างที่มีกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2018-10-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ