Risk Factors of Dengue Shock Syndrome in Kalasin Hospital - ปัจจัยเสี่ยงในโรคไข้เลือดออกที่ช็อกในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • Tiwawan Piyakulmala

บทคัดย่อ

               Dengue infection, the most common mosquito-borne viral diseases, is one of the important health problems inThailand. It has been identified as clinical entity since 1789. In patients with dengue shock syndrome, delay in detection and management usually lead to high morbidity and mortality from prolonged shock or massive bleeding.  The severity of the disease can be modified by early diagnosis and adequate replacement of plasma loss.  Hence it would be of value to identify risk factors that can predict shock in dengue illness.   A retrospective analytical study was done by reviewing the charts of all dengue patients admitted to Kalasin hospital during 2004-2006. Clinical and laboratory data of dengue fever (DF), dengue hemorrhagic fever (DHF) and dengue shock syndrome (DSS) were collected and compared.  One Way ANOVA was used to compare between the 3 groups and chi-square or Fisherีs exact test was used to compare between the 2 groups and the results were also reported as Odd ratio and 95%Confidence Interval. There were 247 cases admitted: 117 DF (47.4%), 107 DHF (43.3%) and 23 DSS (9.3%).  Age, sex, fever, retro orbital pain, abdominal pain, petechiae were not significantly different in comparisons between the DHF and DSS patients. Risk factors of DSS were rash, gum bleeding, melena hematemesis, platelet count less than 50,000 cell/mm3 and hemoconcentration more than 22 percent from baseline.  DHF patients with risks should be closely observed for early signs of shock.  Adequate fluid replacement can prevent the progression of shock which results in less complications and lower case fatality rate in DHF patients.

Key words: risk factors, dengue fever, dengue hemorrhagic fever, dengue shock syndrome

 

                  ไข้เลือดออกเป็นโรคจากไวรัส โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค เป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขไทยซึ่งมีการระบาดตั้งแต่ พ.ศ. 2501 มีอัตราการป่วยและเ ียชีวิตสูงโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกเป็นเวลานานหรือมีเลือดออกอย่างรุนแรง การทราบถึงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะช็อก ช่วยให้มีการเฝ้าระวังและวินิจฉัยได้ตั้งแต่ระยะแรกจึงมีความสำคัญในการลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิต  การศึกษาย้อนหลังเชิงวิเคราะห์ เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะช็อกในผู้ป่วยไข้เลือดออกานี้ ทบทวนย้อนหลังเวชระเบียนผู้ป่วยในเด็กของโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ระหว่างปี 2547 - 2549 จำนวน 247 ราย  เป็นผู้ป่วยไข้เดงกี (DF) 117 ราย ไข้เลือดออก (DHF) 107 รายและไข้เลือดออกที่ช็อก (DSS) 23 ราย เปรียบเทียบข้อมูลทางคลินิก ได้แก่ อายุ เพศ อาการ อาการแสดงและผลการตรวจเลือด(CBC) วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์วิธีวิเคราะห์โดย   One Way ANOVA, chi-square test or Fisher’s exact test หา Odd ratio และ 95% Confidence Interval ไม่พบความแตกต่างในด้าน อายุ เพศ อาการไข้ ปวดตา ปวดท้อง เลือดออกตามผิวหนัง ระหว่างผู้ป่วยไข้เลือดออกที่ไม่ช็อกและช็อกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่พบปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยไข้เลือดออกที่มีโอกาสช็อก ได้แก่ ผื่น เลือดออกตามไรฟัน ถ่ายดำ อาการอาเจียนเป็นเลือด เกล็ดเลือดน้อยกว่า 50,000 เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตรและความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 22 ดังนั้นผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวควรได้รับการสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการเกิดภาวะเลือดออก ภาวะช็อกนานเพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิต

คำสำคัญ:   ปัจจัยเสี่ยง, ไข้เดงกี, ไข้เลือดออก, ไข้เลือดออกที่ช็อก

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2018-11-08

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ