Leadership Behavior Styles of the Chiefs of the Sub-district Administrative Organization in Chanthaburi - รูปแบบพฤติกรรมผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่จังหวัดจันทบุรี
บทคัดย่อ
The objectives of this study were to study the leadership behavior styles and the leadership behavior characteristics: high initiating structure and high consideration of the Chiefs of the Sub-district Administrative Organization (SDAO) in Chanthaburi. Descriptive research approach by surveying point of views of the local people nearby was use in this study consisted of their colleagues and the people in the sub-districts. Thirteen SDAOs were recruited in the study by direct selection and simple random sampling for at least SDAO from each district covering all levels of SDAOs. Ten persons were selected as subjects from each SDAO by specific and accidental methods including SDAOีs personnel officers and political officers, health personnels , health volunteers and people in the area. Therefore there were 130 subjects recruited in this study. Behavior questionnaire constructed by the researcher according to the LBDQ Model (Leadership Behavior Descriptive Questionnaire Model of the Ohio State University, U.S.A.). This research instrument was separated into 2 behavior categories of the Chiefs of SDAOs: Initiating structure and consideration. Moreover, the Ohio State Leadership Behavioral Quadrants was applied for identifying Leadership styles. Data was collected from February to March 2008, and analyzed by computing frequency, percentage, means, and factor analysis with varimax method.
The real leadership behaviors of the Chiefs of the SDAOs appeared close to the subjectsี expectation. It was also found that real leadership behaviors of the Chiefs were differentiated into 2 styles: 46.15percent as าhigh initiating structure and high considerationำ and 53.85 percent as าlow initiating structure and low considerationำ. The vital behaviors of the าhigh initiating structure and high considerationำ groups, rated highly were in the order of
1) Encourage civilian public sharing in community (0.50).
2) Communicate and work with other agencies for community development (0.47).
3) Be rational to the colleague and others (0.42).
4) Maintain good discipline in work and management (0.42).
5) Be able to analyze all issues correctly (0.39).
6) Be self confident (0.39).
7) Make appropriate and quick decision (0.35).
8) Be initiative and put into practice (0.33).
These results indicate that the Chief of SDAO with าhigh Initiating structure and high considerationำ, would pay attention to develop the process of participatory approach that will be beneficial to health system development which needs people empowerment at all levels.
Key words: leadership behavior styles, sub-district administrative organization, Chantaburi, public participation
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบพฤติกรรมผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และ เพื่อศึกษาลักษณะพฤติกรรมผู้นำประเภท “เก่งงาน และ เก่งคน” ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่จังหวัดจันทบุรี รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยแบบพรรณนา (descriptive research) โดยการสำรวจทัศนะของผู้ที่อยู่ใกล้ชิด ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานร่วมกับนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและประชาชนในพื้นที่ กลุ่มตัวอย่างองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) เลือกและสุ่มด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย อย่างน้อยอำเภอละ 1 แห่งโดยให้ครอบคลุมทุกระดับชั้นของ อบต. จำนวน 13 แห่ง กลุ่มตัวอย่างประชากรเลือกแบบเจาะจง และแบบบังเอิญ ประกอบด้วยบุคลากรของ อบต.ทั้งในส่วนข้าราชการประจำและการเมือง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของอบต. แห่งละ 10 คน จำนวน130 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามวัดพฤติกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ตามรูปแบบการวัดพฤติกรรมผู้นำ LBDQ (Leadership Behavior Descriptive Questionnaire) ของมหาวิทยาลัยโอไฮโอ แห่งประเทศ หรัฐอเมริกา โดยพิจารณาการแสดงออกทางด้านผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 2 ด้าน คือ ด้านโครงสร้างการริเริ่ม ( initiating structure : เน้นงาน ) และด้านจินตอาทร (consideration : เน้นคน) รูปแบบพฤติกรรมผู้นำพิจารณาตามรูปแบบ จตุ-จตุรัสพฤติกรรมผู้นำของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ (The Ohio State Leadership Quadrants) ดำเนินการเก็บข้อมูลในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2551 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ การวิเคราะห์องค์ประกอบ (factor analysis)
พบว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตพื้นที่จังหวัดจันทบุรี มีพฤติกรรมผู้นำที่ปรากฏขึ้นจริงใกล้เคียงกับสิ่งที่ผู้ใกล้ชิดคาดหวังไว้ (ตามพฤติกรรมที่ควรจะเป็น) โดยพบว่า รูปแบบพฤติกรรมผู้นำที่เป็นจริงแบ่งผู้นำได้เป็น 2 ประเภทคือ ร้อยละ 46.15 เป็นผู้นำประเภท “เก่งงาน และเก่งคน” และ ร้อยละ 53.85 เป็นผู้นำประเภท “ไม่เก่งงาน และ ไม่เก่งคน” และพบว่าผู้ใกล้ชิดส่วนใหญ่ คาดหวังผู้นำประเภท “เก่งงาน และเก่งคน” ในส่วนขององค์ประกอบพฤติกรรมผู้นำประเภท “เก่งงาน และ เก่งคน” พบว่า ลักษณะพฤติกรรมสำคัญ มีอย่างน้อย 8 รายการ เรียงลำดับความสำคัญ ตามน้ำหนักขององค์ประกอบได้แก่ ลำดับที่ 1 นับสนุนให้มีเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือประชาคมในชุมชน (0.50) ลำดับที่ 2 ประสานกับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อการพัฒนาในพื้นที่ (0.47) ลำดับที่ 3 เป็นผู้มีเหตุผลและสามารถให้เหตุผลแก่ผู้ร่วมงานหรือผู้อื่นได้อย่างชัดเจน (0.42) ลำดับที่ 4 ปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ร่วมงานโดยใช้ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ฯลฯ ของ อบต. เป็นหลัก (0.42) ลำดับที่ 5 สามารถวิเคราะห์หรือวินิจฉัยเรื่องต่างๆ ได้ถูกต้อง (0.39) ลำดับที่ 6 ปฏิบัติงานด้วยความเชื่อมั่นในตนเอง (0.39) ลำดับที่ 7 ตัดสินใจสั่งการงานได้อย่างรวดเร็วและเหมาะสม (0.35) และลำดับที่ 8 นำเอาแนวคิดใหม่ๆ มาทดลองใช้ในการปฏิบัติงาน (0.33) ดังนั้นการพัฒนาศักยภาพนายกองค์การบริหารส่วนตำบล หรือสนับสนุนให้ อบต.มีผู้นำแบบ “เก่งงาน และ เก่งคน” ซึ่งมีลักษณะพฤติกรรมที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการพัฒนาแบบ มีส่วนร่วม จะส่งผลดีต่อการพัฒนาสุขภาพ ที่ต้องระดมพลังทั้งสังคมในทุกระดับ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสังคมและระบบสุขภาพให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมาย ด้วยการมีส่วนร่วมปฏิบัติการและร่วมรับผิดชอบของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายการพัฒนาทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่
คำสำคัญ: รูปแบบพฤติกรรมผู้นำ, องค์การบริหารส่วนตำบล, จังหวัดจันทบุรี, การมีส่วนร่วมของประชาชน