The Comparison of Closed Reduction with Percutaneous Pinning Procedure and Open Reduction with Internal Fixation in the Surgical Treatment of Displaced Supracondylar Fractures of Humerus in Children - การเปรียบเทียบผลการรักษากระดูกเหนือข้อศอกหักชนิดเลื่อนในเด็ก ระหว่างการใส่ลวด ยึดกระดูกโดยผ่าตัดเปิดแผลและไม่เปิดแผล ในโรงพยาบาลปทุมธานี
บทคัดย่อ
Supracondylar fractures of the humerus in children are among the most frequently seen in the pediatric orthopaedic clinic setting worldwide. The commonly accepted treatment of displaced supracondylar fractures of humerus in children is closed reduction with percutaneous pinning(CRPP); however, open reduction with internal fixation (ORIF) is also advocated by a number of authors. This retrospective study was conducted to compare the outcomes of closed reduction with percutaneous pinning and open reduction with internal fixation of 142 children with displaced supracondylar fractures admitted in the Pathum Thani hospital between October 2002 and September 2007. Of which 78 patients were treated with ORIF and 64 patients with CRPP. The functional and cosmetic outcomes were evaluated according to modified Flynnีs criteria after reduction. There were reportedly 97.4 percent satisfactory results in ORIF and 95.3 percent in CRPP group with limited unsatisfactory results of only 2.6 percent and 4.7 percent respectively. Analysis of the carrying angle loss, elbow extension loss and elbow flexion loss indicated that the differences were not statistically significant( p > 0.05) CRPP yields similar outcome to ORIF for the treatment of pediatric displaced supracondylar humeral fracture.The author recommends CRPP before ORIF because of its minimal invasiveness relative to ORIF.
Key words: supracondylar fracture, children, humerus treatment, CRPP/ORIF
กระดูกเหนือข้อศอกหักในเด็กเป็นการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยในแผนกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์การรักษากระดูกหักชนิดที่มีการเลื่อนคือการดึงกระดูกให้เข้าที่แล้วใส่ลวดยึดกระดูกโดยวิธีการเปิดและไม่เปิดแผลผ่าตัดแต่ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดในการเลือกวิธีการรักษา การศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาทั้ง 2 วิธี เพื่อเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ในการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษา เป็นการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยกระดูกเหนือข้อศอกหักในเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปีในโรงพยาบาลปทุมธานี จำนวน 142 ราย ตั้งแต่ตุลาคม 2545-กันยายน 2550 รักษาด้วยการผ่าตัดแล้วใส่ลวดยึดกระดูก 78 ราย ดึงกระดูกให้เข้าที่แล้วใส่ลวดยึดกระดูก 64 ราย ศึกษาถึงผลการรักษาหลังผ่าตัดตาม modified Flynn’s Criteria พบว่าร้อยละ 97.4 หลังการผ่าตัดเปิดแผลแล้วใส่ลวดยึดกระดูกได้ผลดี และ ร้อยละ 95.3ในกลุ่มดึงกระดูกให้เข้าที่แล้วใส่ลวดยึดกระดูกได้ผลดีส่วนผลการรักษาที่ไม่ดี ร้อยละ 2.6ในกลุ่มผ่าตัดเปิดแผลแล้วใส่ลวดยึดกระดูก และ ร้อยละ 4.7ในกลุ่มดึงกระดูกเข้าที่และใส่ลวดยึดกระดูก ศึกษาโดยวัดมุม carrying angle loss , elbow extension loss และ elbow flexion loss ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทั้ง 2 กลุ่ม (p > 0.05) การรักษากระดูกเหนือข้อศอกหักชนิดเลื่อนในเด็กทั้ง 2 วิธีได้ผลไม่แตกต่างกันผู้วิจัยยังคงแนะนำให้ใช้วิธีการดึงกระดูกให้เข้าที่แล้วใส่ลวดยึดกระดูกก่อนหากไม่ได้ผลหรือมีข้อบ่งชี้จึงพิจารณาใช้วิธีการผ่าตัดเปิดแผลแล้วใส่ลวดยึดกระดูก
คำสำคัญ: กระดูกเหนือข้อศอกหัก, เด็ก