Effects of Neck and Shoulder Exercise in Computer Users - ผลของการออกกำลังกายในผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ที่มีอาการปวดคอ ไหล่ หรือสะบัก
บทคัดย่อ
The objective of this prospective analytical study was to assess the effects of self stretching exercise in computer users suffering from neck and shoulder pain during November 2007-March 2008. The subjects (n = 110) were employed in government offices and private companies in ChonBuri,Thailand. Comparisons of visual analogue scales in pre and post self stretching exercise were made.
The results showed that the majority of subjects were female (84.5%), 50.9 percent in the 20-30 year age group. The average hours spent daily in front of computers was 5.9 (SD. 1.98) hour per day. Decrement of an visual analogue scale (VAS) in participants were 38.38 percent (SD. 25.9). Employing paired t-test, the VAS showed statistical significance when comparing pre and post self stretching exercise (95% CI 1.19 - 1.5). On dividing participants into three groups mild (0<VASฃ3), moderate (3<VASฃ6) and severe (6<VASฃ10), the study showed that after exercise, number of subjects in moderate and severe group decreased significantly
In summary, there was statistically significant decrease of pain scale (VAS) and muscle tone in computer users suffering from neck and shoulder pain after self stretching exercise program.
Key words: neck pain, shoulder pain, neck and shoulder exercise, computer users
การศึกษาเชิงเปรียบเทียบแบบเก็บข้อมูลไปข้างหน้านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายในผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่มีอาการปวดคอ ไหล่ หรือสะบัก กลุ่มตัวอย่างคือผู้ทำงานในสำนักงานของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในจังหวัดชลบุรีจำนวน 110 คน ศึกษาระหว่างพฤศจิกายน 2550 ถึงมีนาคม 2551 โดยประเมินระดับความปวดด้วย visual analogue scale (0-10 VAS) เปรียบเทียบก่อนและหลังการออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อด้วยตนเอง 6 ท่า
พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 84.5 โดยร้อยละ 50.9 มีอายุอยู่ระหว่าง 20-30 ปี ระยะเวลาทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์เฉลี่ย 5.9 ชั่วโมงต่อวัน (SD 1.98) หลังการออกกำลังกายพบว่าระดับความปวด (VAS) ของกลุ่มตัวอย่างลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนออกกำลังกายเฉลี่ยร้อยละ 38.38 (SD 25.9) และเมื่อเปรียบเทียบระดับVASก่อนและหลังออกกำลังกายด้วย paired t-test พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95% CI 1.19, 1.5) นอกจากนี้การออกกำลังกายยังมีผลช่วยลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อและเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวของคอ ไหล่อีกด้วย, และเมื่อแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นระดับความรุนแรงต่ำ (0<VASฃ3) ปานกลาง(3<VASฃ6) และ ูง(6<VASฃ10) พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของจำนวนอาสาสมัครในกลุ่มความรุนแรงปานกลางและสูงลดลงอย่างเห็นได้ชัดหลังจากการออกกำลังกาย
รุปการออกกำลังกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อนี้มีผลลดระดับความปวด และความตึงตัวของกล้ามเนื้อในผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่มีอาการปวดคอ ไหล่ หรือสะบักได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
คำสำคัญ: ปวดคอ, ปวดไหล่, การออกกำลังกายของคอ ไหล่, ผู้ใช้คอมพิวเตอร์