Trends of Perinatal Deaths at Pathum Thani Hospital 1997-2007 - แนวโน้มการตายปริกำเนิดที่โรงพยาบาลปทุมธานี ปีงบประมาณ 2540-2550
บทคัดย่อ
The objective of this retrospective study was to study the trends in perinatal mortality rate and causes of perinatal deaths at Pathum Thani hospital from October 1, 1996 to September 30, 2007. Medical records and reports during then were reviewed. There were 31,872 births with a total of 351 perinatal deaths. The perinatal mortality rates per annum were 7.49-16.34 per 1,000 births and its average was 11.01 per 1,000 births. Stillbirth and early neonatal death rate were 6.49 and 4.52 per 1,000 births, respectively. The most common cause of death was macerated fetus (30.7%) Causes of death from congenital anomalies, immaturity, asphyxia and specific conditions were 22.2, 7.69, 22.51 and 16.81 percent respectively. The perinatal mortality rate at PathumThani hospital declined from 13.27 in 1995 to 9.09 per 1,000 births in 2007. The trend of asphyxia, preventable cause decreased. Better understanding of the etiology of stillbirth is required for reducing perinatal deaths.
Key words: perinatal mortality, cause of death
การศึกษาย้อนหลังนี้ ประเมินแนวโน้มอัตราตายปริกำเนิด และสาเหตุของการตายปริกำเนิดที่โรงพยาบาลปทุมธานี ปีงบประมาณ 2540 - 2550 โดยทบทวนเวชระเบียนและรายงานประจำเดือนการคลอดที่โรงพยาบาลปทุมธานีตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2550 ผลการศึกษาพบว่าในปีงบประมาณ 2540 - 2550 มีทารกคลอดทั้งสิ้น 31,872 ราย เป็นการตายปริกำเนิด 351 ราย อัตราตายปริกำเนิดต่อปีอยู่ในช่วง 7.49 ต่อ 1,000 การคลอด ถึง 16.34 ต่อการคลอด เฉลี่ย 11.01 ต่อ 1,000 การคลอด อัตราตายคลอด 6.49 ต่อ 1,000 การคลอด และอัตราตายทารกแรกเกิดระยะต้นเท่ากับ 4.52 ต่อ 1,000 การเกิดมีชีพ สาเหตุการตายปริกำเนิดที่พบมากที่สุด คือ การตายเปื่อยยุ่ย ร้อยละ 30.7 สาเหตุจากความพิการแต่กำเนิด การคลอดก่อนกำหนด การขาดออกซิเจนระหว่างคลอด และสาเหตุเฉพาะพบร้อยละ 22.2, 7.69, 22.51 และ 16.81 ตามลำดับ โดยสรุปอัตราตายปริกำเนิดที่โรงพยาบาลปทุมธานีลดลงจาก 13.27 ต่อ 1,000 การคลอด ในปี 2538 เป็น 9.09 ต่อ 1,000 การคลอดในปี พ.ศ. 2550 และมีแนวโน้มลดลงตามลำดับ พบว่าการตายจากสาเหตุที่ป้องกันได้ คือ จากการขาดออกซิเจนนั้นมีแนวโน้มลดลง แต่ควรมุ่งเน้นหาสาเหตุการตายคลอดหรือทารกเกิดไร้ชีพ เพื่อเป็นแนวทางลดอัตราตายปริกำเนิดต่อไป
คำสำคัญ: อัตราตายปริกำเนิด สาเหตุการตาย