The Effect of Behavior Modification Program with Advisors to Overweight Government Officersี Knowledge and Practice on Nutrition and Exercise - ผลของการใช้โปรแกรมปรับพฤติกรรมสุขภาพโดยมีพี่เลี้ยงประจำกลุ่มต่อความรู้และพฤติกรรมการกินอาหารและการออกกำลังกายของข้าราชการที่มีภาวะน้ำหนักเกิน

ผู้แต่ง

  • Kamol Boonrod

บทคัดย่อ

            This quasi experimental study was to evaluate the behavior modification program with advisors to overweight government officersี knowledge and practice on nutrition and exercise. The samples were 40 government officers who worked in Mu 3,4 Tambon Ban Suan, Amphoe Mueang, Chon Buri who had Body Mass Index (BMI)  25.0-34.9 kg/m.2.  The duration of this study was 17 weeks (February-May 2007). In a set of questionnaire, information to be collected were general knowledge, specific knowledge and practice on nutrition and exercise. Data presented in  frequency, percentage, mean, standard deviation and paired t-test was employed in the analysis.

             As a result, overweight government officers who participated in a behavior modification program with advisors differed on both nutrition and exercise in the post-test relative to the pre-test with statistical significance at p<0.001.  Accordingly, their differences on pre-post BMI were also significant statistically (p<0.001).

             This research suggests that the behavior modification program with advisors may be an effective model and can be modified or replicated in other target groups.

 Key words:  behavior modification program, advisors, overweight

              การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับพฤติกรรมสุขภาพ  โดยมีพี่เลี้ยงประจำกลุ่มต่อความรู้และพฤติกรรมการกินอาหารและการออกกำลังกายของข้าราชการที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่างคือ  ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในหน่วยราชการเขตพื้นที่ หมู่ 3, 4 ตำบลบ้านสวน  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี ที่มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง  25.0-34.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จำนวน 40 คน ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 17 สัปดาห์  ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2550  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมปรับพฤติกรรมสุขภาพสำหรับผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามประกอบด้วยส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปส่วนที่ 2 แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการกินอาหารและการออกกำลังกายส่วนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกาย  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่และร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าทีแบบจับคู่ (paired t-test)

             ผลการวิจัยพบว่า  กลุ่มตัวอย่างภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมปรับพฤติกรรมสุขภาพโดยมีพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม  มีความรู้และพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกายแตกต่างจากก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.001 ส่วนค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.001

              ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย โปรแกรมปรับพฤติกรรมสุขภาพโดยมีพี่เลี้ยงประจำกลุ่มสามารถนำไปเป็นต้นแบบหรือพัฒนาในการดำเนินการในกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ ต่อไป

คำสำคัญ :  โปรแกรมปรับพฤติกรรมสุขภาพ, พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม, ภาวะน้ำหนักเกิน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2018-11-08

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ