Efficacy of Warming Mung Bean Pad in Preventing Hypothermia in Transporting Newborn - การลดการเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำขณะเคลื่อนย้ายทารกโดยการใช้ถุงผ้ายีนหนาบรรจุถั่วเขียวอุ่นรองใต้ลำตัว

ผู้แต่ง

  • Kanokwan Chanjaroenkij

บทคัดย่อ

                 Hypothermia is a common problem in newborn leading to increase morbidity.   External source of heat like warming mung bean pad could be used to prevent hypothermia.  The aim of this study was to evaluate warming mung bean pad in reducing hypothemia while transporting newborns, using in conjunction with standard guideline in Somdejprabuddhalertla hospital in a retrospective analytic study between January 2006 and December 2007.  Based on inclusive criteria, 65 neonates were enrolled, 32 were transported under routine guideline in 2006 but each of the other 33 had a warming mung bean pad as a heat source for newborn transport in 2007.  No differences in room temperatures between the two groups.  The incidence of hypoglycemia was reduced from 31.25 percent to 18.18 percent.  It is recommended that careful use of warming mung bean pad in conjunction with standard guideline can prevent heat loss during newborn transport.

Key words:  hypothermia, newborn transportation, warming mung bean pad

                ภาวะอุณหภูมิกายต่ำในทารกแรกเกิดพบบ่อยมากในทารกแรกเกิดทุกคนที่ต้องการการช่วยคืนชีพทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากมาย จึงมีความพยายามหลากหลายเพื่อป้องกันทารกไม่ให้เกิดภาวะนี้ เช่นการหาแหล่งความร้อนอื่นมาใช้เพิ่มอุณหภูมิกาย การศึกษาย้อนหลังเชิงวิเคราะห์นี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการเคลื่อนย้ายทารกตามมาตรฐานการดูแลทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยร่วมกับการใช้ถุงผ้ายีนอย่างหนาบรรจุถั่วเขียวอุ่น เป็นแหล่งให้ความร้อนแก่ทารก ในการลดอัตราการเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำ  ศึกษาในทารกที่คลอดในโรงพยาบาล มเด็จพระพุทธเลิศหล้าทุกราย ที่ต้องเคลื่อนย้ายจากห้องคลอด/ห้องผ่าตัด ในปี 2549 ไม่ได้ใช้ถุงถั่วเขียวอุ่นรองตัว 32 ราย และในปี 2550 ใช้ถุงถั่วเขียว 33 ราย โดยไม่มีความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิห้องที่ห้องคลอด/ห้องผ่าตัด และหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดทั้ง 2 ปี พบอุบัติการการเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำลดลงจากร้อยละ 31.25 ในปี 2549 เหลือร้อยละ 18.18 ในปี 2550 ดังนั้นในการเคลื่อนย้ายทารกแรกเกิดตามมาตรฐานร่วมกับการใช้ถุงผ้ายีนอย่างหนาบรรจุถั่วเขียวอุ่น ควรได้ประโยชน์มากขึ้น แต่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน

คำสำคัญ:   ภาวะอุณหภูมิกายต่ำในทารกแรกเกิด, การเคลื่อนย้ายทารก, ถุงผ้ายีนอย่างหนาบรรจุถั่วเขียวอุ่น

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2018-11-08

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

Innovation