ผลของโปรแกรมการบริบาลเภสัชกรรม ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัสในโรงพยาบาลพนา จังหวัดอำนาจเจริญ
คำสำคัญ:
บริบาลเภสัชกรรม, แรงสนับสนุนทางสังคม, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ความร่วมมือในการใช้ยา, ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์, ยาต้านไวรัสบทคัดย่อ
การศึกษาผลของโปรแกรมผสมผสานการบริบาลเภสัชกรรมร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมที่ให้แก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัสในโรงพยาบาลพนา จังหวัดอำนาจเจริญ โดยติดตามผลเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ทำการวัดผลโดยการประเมินความร่วมมือในการใช้ยาต้านไวรัสและพฤติกรรมการดูแลตนเอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี /ผู้ป่วยเอดส์ที่เข้าเกณฑ์จำนวน 72 คน สุ่มอิสระเข้ากลุ่มทดลอง 36 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 52.80) มีอายุระหว่าง 45-54 ปี (ร้อยละ 72.20) มีระยะเวลาตั้งแต่รับทราบว่าติดเชื้อเอชไอวีในเลือดอยู่ระหว่าง 6-9 ปี ร้อยละ 38.89 มีปริมาณไวรัสในกระแสเลือด (HIV-viral load) น้อยกว่า 50 copies/ml. (ร้อยละ 97.22) มีระดับ CD4 ก่อนเข้าโปรแกรม อยู่ระหว่าง 201-300 cells/ml. (ร้อยละ 33.33) กลุ่มทดลอง ทุกคนได้รับโปรแกรมฯ ตามแบบแผนที่วางไว้ และอีก 36 คนอยู่ในกลุ่มควบคุม ได้รับบริการตามปกติ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 58.30) มีอายุระหว่าง 45-54 ปี (ร้อยละ 69.44) มีระยะเวลาตั้งแต่รับทราบว่าติดเชื้อเอชไอวีอยู่ระหว่าง 2-5 ปี (ร้อยละ 55.56) มีปริมาณไวรัสในกระแสเลือดน้อยกว่า 50 copies/ml. (ร้อยละ 94.44) มีระดับ CD4 ก่อนเข้า โปรแกรมอยู่ในระหว่าง 301-400 cells/ml. (ร้อยละ 36.10) แกนนำที่ให้แรงสนับสนุนทางสังคมคัดเลือกจากผู้ติดเชื้อจำนวน 1 คน เภสัชกร 1 คนและเจ้าหน้าที่ประจำคลินิคผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ 1 คน เมื่อครบกำหนดการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีความร่วมมือในการใช้ยาต้านไวรัสตรงเวลาและครบทุกมื้อสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจากนี้ยังมีความรู้ความเข้าใจในพฤติกรรมการดูแลตนเองภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านโภชนาการ ด้านการออกกำลังกาย ด้านการป้องกันการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อ ด้านการป้องกันตนเองจากสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ด้านการจัดการความเครียดและการพักผ่อนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.