สิ่งคุกคามทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ของผู้ปฏิบัติงานบนรถโดยสารสาธารณะ

ผู้แต่ง

  • วิระวรรณ ถิ่นยืนยง สำนักคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • อำพร บุศรังษี กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • เบญจวรรณ ธวัชสุภา กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • ณัฏฐกานต์ ฉัตรวิไล กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

รถโดยสารสาธารณะ, สิ่งคุกคามทางสิ่งแวดล้อม, สุขภาพอนามัย, พนักงานขับรถโดยสาร, พนักงานเก็บค่าโดยสาร

บทคัดย่อ

ผู้ปฏิบัติงานบนรถโดยสารสาธารณะเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานท่ามกลางการจราจรที่ติดขัด และมีความเสี่ยงที่จะสัมผัสสิ่งคุกคามทางสิ่งแวดล้อมในรถ ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสิ่งคุกคามทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของพนักงานขับรถโดยสารและพนักงาน-เก็บค่าโดยสารบนรถโดยสารปรับอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยทำการเก็บตัวอย่างด้านสิ่งแวดล้อมในรถ การประเมินความเสี่ยงจากการได้รับสัมผัสสิ่งคุกคามของผู้ปฏิบัติงาน และสัมภาษณ์ข้อมูลสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานโดยสิ่งคุกคามด้านสิ่งแวดล้อมในรถ พบอุณหภูมิเฉลี่ยที่ 28.6 องศาเซลเซียสและมีฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เฉลี่ยที่ 60 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกินค่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ (ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) และพบแบคทีเรียรวมและเชื้อรารวมเกินมาตรฐาน ผลการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างผู้ปฏิบัติงานบนรถโดยสารรวม 480 คน มีอายุตั้งแต่ 27 - 60 ปี พบว่าขณะปฏิบัติงาน รู้สึกไม่สบายตัวจากความร้อนร้อยละ 33.5 กลิ่นเหม็นร้อยละ 19.8และเสียงดังร้อยละ 12.5 มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ร้อยละ 81.0 และกลั้นปัสสาวะบ่อยครั้ง ร้อยละ 50.0 และปวดตามร่างกายเป็นอาการเจ็บป่วยที่พบมากที่สุด โดยผลการศึกษานี้ได้จัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายและมาตรการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานบนรถโดยสาร เพื่อเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-10-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ