แบบแผนการดําเนินชีวิตที่สร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในอําเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลําพูน

ผู้แต่ง

  • ศรีพรหม กาสกูล สํานักงานสาธารณสุขอําเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลําปาง
  • สิริมา มงคลสัมฤทธิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, โรคซึมเศร้า, อําเภอทุ่งหัวช้าง

บทคัดย่อ

โรคซึมเศร้ากําลังจะเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขทั่วโลกในปี พ.ศ. 2563 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ที่มีโรคซึมเศร้าอําเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลําพูน รูปแบบการศึกษาแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีโรคซึมเศร้าที่ขึ้นทะเบียนไว้ในอําเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลําพูน จํานวน 444 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในอําเภอทุ่งหัวช้าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 76.4 ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพรายด้าน พบว่า การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความรับผิดชอบต่อสุขภาพตนเองและด้านโภชนาการของผู้ที่มีโรคซึมเศร้าอยู่ในระดับสูง ในส่วนการพัฒนาทางจิตวิญญาณ การจัดการความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง และมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านกิจกรรมทางร่างกายอยู่ในระดับตํ่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอย่างมีนัยสําคัญ คือ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือนการมีญาติสายตรงเป็นโรคซึมเศร้า (p<0.05) ผู้ที่ได้รับยาต้านเศร้าและไม่ได้รับยาต้านเศร้ามีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพไม่แตกต่างกัน (p>0.05) ดังนั้นบทบาทของบุคลากรทางด้านสาธารณสุขในชุมชนควรเน้น ให้ความสําคัญในการส่งเสริมสุขภาพทางด้านกิจกรรมทางร่างกายในผู้ที่มีโรคซึมเศร้า และผู้ที่มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในระดับตํ่า จําเป็นต้องมีการวางแนวทางการดําเนินงานเฝ้าระวัง ติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้