การปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทํางานเพื่อลดการสัมผัสฝุ่นและจุลชีพในโรงสีชุมชนหมู่บ้านบุยอ อําเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
โรงสีชุมชน, สภาพแวดล้อมในการทํางาน, การระบายอากาศเฉพาะที่, ฝุ่น, จุลชีพบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดการสัมผัสฝุ่นและและจุลชีพในโรงสีชุมชนแห่งหนึ่ง ด้วยการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทํางานโดยติดตั้งระบบระบายอากาศเฉพาะที่ทําการเก็บตัวอย่างฝุ่นรวม ฝุ่นขนาดเล็กที่สามารถเข้าสู่ถุงลมปอด แบคทีเรีย และเชื้อราในอากาศก่อนและหลังการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทํางานที่บริเวณเทและลําเลียงข้าวเปลือกเข้าสู่เครื่องสีข้าว บริเวณเครื่องคัดและขัดขาว บริเวณจุดปล่อยรําและปลายข้าว และบริเวณบรรจุข้าวสาร ซึ่งฝุ่นรวมและฝุ่นขนาดเล็กฯ เก็บตัวอย่างตามวิธี NIOSH #0500 และ #0600 ตามลําดับ ส่วนแบคทีเรียและเชื้อราในอากาศเก็บตัวอย่างตามวิธี NIOSH #0800 ผลการศึกษาพบว่าก่อนการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทํางาน ฝุ่นรวม ฝุ่นขนาดเล็กฯ แบคทีเรีย และเชื้อราในอากาศพบมากที่สุดในบริเวณเทและลําเลียงข้าวเปลือกหลังการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทํางานความเข้มข้นของฝุ่นรวมและฝุ่นขนาดเล็กฯ ภายในโรงสีชุมชนลดลงร้อยละ 90.26 และร้อยละ 52.17 ตามลําดับ และปริมาณแบคทีเรียและเชื้อราภายในโรงสีชุมชนลดลงร้อยละ 54.38 และ 94.75 ตามลําดับ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างฝุ่นรวมกับฝุ่นขนาดเล็กฯ (r2=0.84)แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของฝุ่นและจุลชีพ (แบคทีเรียและเชื้อรา) นอกจากการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทํางานโดยการติดตั้งระบบระบายอากาศเฉพาะที่บริเวณเทและลําเลียงข้าวเปลือกในกระบวนการสีข้าวควรมีการตรวจสอบและบํารุงรักษาระบบระบายอากาศให้พร้อมใช้งานอย่างสมํ่าเสมอ และทํา 5ส เพื่อลดการสะสมของฝุ่นและจุลชีพภายในโรงสีชุมชน
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2018 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.