ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงจากการรับสัมผัสสารฟอร์มัลดีไฮด์ของผู้ประกอบอาชีพ ช่างเสริมสวย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • พิมาน ธีระรัตนสุนทร สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • บุญเรือน ฮุงหวล สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • มุกดาวรรณ ยวงเดชกล้า สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันอันตราย, ช่างเสริมสวย, ฟอร์มัลดีไฮด์, การรับสัมผัส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบพรรณนาชนิดภาคตัดขวางโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีในผู้ประกอบอาชีพช่างเสริมสวย และศึกษาความเข้มข้นและประเมินความเสี่ยงในการเกิดอันตรายทางสุขภาพจากการรับสัมผัสสารฟอร์มัลดีไฮด์ซึ่งเป็นองค์ประกอบในน้ำยายึดผม น้ำยาปรับสภาพผม หรือแชมพูบางสูตรที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยประเมินความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งและการเกิดอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ทั้งนี้ IARC (Interaional Agency for Reserch on Cancer) ได้จัดสารฟอร์มัลดีไฮด์อยู่ในกลุ่มสารก่อมะเร็งกลุ่มที่ 1 โดยศึกษาในพนักงาน ร้านเสริมสวย 55 คน จากร้านเสริมสวย 39 ร้าน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และตรวจระดับสารฟอร์มัลดีไฮด์โดยใช้ spectrophotometer ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบอาชีพช่าง-เสริมสวยเป็นหญิงอายุเฉลี่ย 37 ปี การศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 43.6 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 52.0 รายได้เฉลี่ย 15,372.7 บาทต่อเดือน มีความรู้เกี่ยวกับสารฟอร์มัลดีไฮด์อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 43.6) ส่วนใหญ่มีระดับทัศนคติที่ดีต่อการจัดการสารเคมี ร้อยละ 56.4 และมีทัศนคติปานกลาง (ร้อยละ 43.6) มีการปฏิบัติอยู่ในระดับความเสี่ยงน้อย (ร้อยละ 70.9) มีจำนวน 33 ร้านจากทั้งหมด 39 ร้านที่ตรวจพบสารฟอร์มัลดีไฮด์มีค่าอยู่ในช่วง 0.00002-0.5710 ส่วนในล้านส่วน (ppm) ทั้งนี้ ความเข้มข้นดังกล่าวไม่เกินมาตรฐานตามประกาศกระทรวง-มหาดไทยและ OSHA (Occupational Safety and Administration) แต่อย่างไรก็ตาม มีจำนวน 19 ร้านที่ตรวจพบว่าเกินมาตรฐานของ NIOSH (National Institute for Occupational Safety and Health) ซึ่งกำหนดให้ความเข้มข้นของสารฟอร์มัลดีไฮด์ในบรรยากาศการทำงานไม่เกิน 0.016 ส่วนในล้านส่วน และผลการประเมินความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งด้วยความเข้มข้นเฉลี่ยพบว่า ช่างเสริมสวยมีโอกาสเกิดความเสียง 8.3 ในหนึ่งพันล้านคนถึง 1.0 ในหนึ่งพันคนโดยมีช่างเสริมสวยจำนวน 30 คนที่มีค่าความเสี่ยงเกินกว่าค่าที่ยอมรับได้ของ USEPA (United States Environmen-tal Protection Agency) และเมื่อคำนวณด้วยค่าความเข้มข้นสูงสุดพบว่า ช่างเสริมสวยมีโอกาสเกิดความเสี่ยง 1.97 ในหนึ่งร้อยล้านคนถึง 1.40 ในหนึ่งพันคน โดยมีช่างเสริมสวยจำนวน 31 คนที่มีค่าความเสี่ยงเกินกว่าค่าที่ยอมรับได้ของ USEPA ซึ่งกำหนดไว้ที่ 1 x 10-6 ผลการประเมินความเสี่ยงอื่นนอกจากมะเร็งพบว่า ช่างเสริมสวยมีค่าความเสี่ยงอยู่ในช่วง 0.018 ถึง 13.216 เมื่อใช้ความเข้มข้นเฉลี่ยในการคำนวณ ซึ่งมีช่างเสริมสวย 12 คนที่มีค่าความเสี่ยงมากกว่า ค่าที่ยอมรับได้และ 0.024 ถึง 18.488 เมื่อใช้ค่าความเข้มข้นสูงสุดในการคำนวณ ซึ่งมีช่างเสริมสวย 13 คนที่มีค่าความเสี่ยงมากกว่าค่าที่ยอมรับได้ตามคำแนะนำของ USEPA แต่ไม่พบความสัมพันธ์ของผลกระทบทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างกับปริมาณสารฟอมัลดีไฮด์ที่สัมผัสอย่างมีนัยสำคัญ p>0.05

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-10-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ