ความรู้และทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อการเข้าถึงบริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของคนขับรถแท็กซี่ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การเข้าถึงบริการ, คนขับรถแท็กซี่, หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการเข้าถึงบริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และหาตัวแปรอิสระที่มีอิทธิพลต่อการเข้าถึงบริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของคนขับรถแท็กซี่ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ คนขับรถแท็กซี่ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เฉพาะผู้ที่เข้ารับบริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเท่านั้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติการถดถอยแบบพหุคูณแบบขั้นตอน กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าคนขับรถแท็กซี่มีเข้าถึงบริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทั้ง 5 ด้านในระดับปานกลาง โดยด้านการยอมรับคุณภาพของบริการ มีค่าเฉลี่ย 3.37 ด้านความเพียงพอของบริการที่มีอยู่ มีค่าเฉลี่ย 3.16 ด้านความสะดวกและสิ่งอำนวยความสะดวกของสถานบริการมีค่าเฉลี่ย 3.56 ด้านความสามารถในการเข้าถึงแหล่งบริการ มีค่าเฉลี่ย 3.49 และด้านความสามารถในการเสียค่าใช้จ่ายสำหรับบริการที่ได้รับ มีค่าเฉลี่ย 3.41 ด้านการยอมรับคุณภาพบริการ มีตัวแปรอิสระ 4 ตัวคือ ทัศนคติที่มีต่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในภาพรวม ทัศนคติที่มีต่อสิทธิประโยชน์ อายุ และรายได้จากการขับรถแท็กซี่เฉลี่ยต่อวัน เข้าร่วมทำนายได้ร้อยละ 29.9 ด้านความเพียงพอของบริการที่มีอยู่ มีตัวแปรจำนวน 4 ตัวคือ ทัศนคติที่มีต่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในภาพรวม ความรู้เกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในภาพรวม ภูมิลำเนา และทัศนคติที่มีต่อสิทธิการเข้าใช้ เข้าร่วมทำนายได้ร้อยละ 14.6 ด้านความสะดวกและสิ่งอำนวยความสะดวกของสถานบริการ มีตัวแปรจำนวน 3 ตัวคือ ทัศนคติที่มีต่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในภาพรวม ทัศนคติที่มีต่อการใช้สิทธิ และอายุ เข้าร่วมทำนายได้ร้อยละ 17.0 ด้านความสามารถในการเข้าถึงแหล่งบริการ มีตัวแปรจำนวน 3 ตัว คือ ภูมิลำเนา ทัศนคติที่มีต่อสิทธิการเข้าใช้ และอายุ เข้าร่วมทำนายได้ร้อยละ 9.1 ด้านความสามารถในการเสียค่าใช้จ่ายสำหรับบริการที่ได้รับ มีตัวแปรจำนวน 2 ตัว คือ ทัศนคติที่มีต่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในภาพรวม และความรู้เกี่ยวกับการใช้สิทธิ เข้าร่วมทำนายได้ร้อยละ 14.8 และการเข้าถึงบริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในภาพรวม มีตัวแปรจำนวน 5 ตัว คือ ทัศนคติที่มีต่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในภาพรวม อายุ ภูมิลำเนา ทัศนคติที่มีต่อสิทธิการเข้าใช้ และความรู้เกี่ยวกับสิทธิการเข้าใช้ เข้าร่วมทำนายได้ร้อยละ 31.3 การศึกษาครั้งนี้กล่าวได้ว่า ตัวแปรหลักที่มีอิทธิพล คือ ทัศนคติที่มีต่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รองลงมา คือ ความรู้ที่มีต่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีอิทธิพลต่อการเข้าถึงบริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทั้งในรายด้านและภาพรวม โดยประกอบด้วยทัศนคติในภาพรวม ด้านสิทธิการเข้าใช้ ด้านสิทธิประโยชน์ และด้านการใช้สิทธิ ส่วนความรู้ประกอบไปด้วยความรู้ในภาพรวม ด้านการใช้สิทธิ และด้านสิทธิการเข้าใช้
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.