สารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อในน้ำ ตะกอน และปลา ในแม่น้ำน่าน จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • เสาวนีย์ ดีมูล สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก
  • จรูญ สารินทร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
  • กนกทิพย์ จักษุ State Key Laboratory of Organic Geochemistry, Guangzhou Institute of Geochemistry, Chinese Academy of Sciences, Guangzhou, China
  • Guang GuoYing State Key Laboratory of Organic Geochemistry, Guangzhou Institute of Geochemistry, Chinese Academy of Sciences, Guangzhou, China
  • ชาญยุทธ กฤตสุนันท์กุล มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
  • สริน ศรีปรางค์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

ฤทธิ์การเป็นเอสโตรเจน, สารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ, น้ำ, ตะกอน, ปลา, การประเมินความเสี่ยง

บทคัดย่อ

สารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ (endocrine disrupting chemicals หรือ EDCs) เป็นสารเคมีที่มาจากธรรมชาติ เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจน และสารเคมีสังเคราะห์ เช่น สารเคมีในยา หรือในผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล (pharmaceutical and personal care products หรือ PPCPs) EDCs สามารถทำให้เกิดผลกระทบต่อมนุษย์และสัตว์ได้ โดย EDCs เลียนแบบฮอร์โมนของร่างกายซึ่งไปรบกวนการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ เช่น ทำให้เกิดความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์และพัฒนาการของร่างกาย ดังนั้นจึงทำการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเข้มข้นของ EDCs และทดสอบ estrogenic activities ในตัวอย่างน้ำ ตะกอนแม่น้ำ และปลา จากแม่น้ำน่าน จังหวัดพิษณุโลก โดยทำการเก็บตัวอย่างในแม่น้ำน่าน 12 จุด แบ่งเป็น 3 โซน (โซนก่อนไหลเข้าเมือง โซนในเมืองบริเวณท่อน้ำทิ้ง โซนไหลออกจากเมือง) EDCs ที่ทดสอบคือ octylphenol (OP), nonylphenol (NP), bisphenol A (BPA) และ estrone (E1) วิเคราะห์ความเข้มข้นของสารโดย GC-MS และทดสอบ estrogenic activities ด้วยวิธี yeast estrogen screen (YES) bioassay จากการศึกษาพบความเข้มข้นของ OP, NP, BPA, และ E1 ในตัวอย่างน้ำอยู่ในช่วง 1-10 ng/L, 244-1062 ng/L, 43-1421 ng/L และตรวจไม่พบจนถึง 10 ng/L ตามลำดับ ในตัวอย่างตะกอนไม่พบ OP และพบความเข้มข้นของ NP, BPA, และ E1 อยู่ในช่วง 6-57 ng/g, 5-8 ng/g และ 1-11 ng/g ตามลำดับ สำหรับตัวอย่างปลา OP, NP, BPA, และ E1 พบในช่วง 62-600 ng/g, 5624-57281 ng/g, 9-52 ng/g และ 6-122 ng/g ตามลำดับ Estrogenic activities ในตัวอย่างน้ำอยู่ในช่วง 0-0.98 ng/L ตัวอย่างตะกอนอยู่ในช่วง 0-0.17 ng/g และตัวอย่างปลาอยู่ในช่วง 0.09-1.24 ng/g แม้ว่าความเข้มข้นของ EDCs ในแม่น้ำน่านจะอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตามความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตนั้นส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง การศึกษาครั้งนี้เป็นครั้งแรกของการรายงานการตรวจพบ EDCs ในแม่น้ำน่าน จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงการปนเปื้ อนของ EDCs ในแม่น้ำน่าน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-03-11

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ