การจัดการกับการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง: ต้นแบบการเรียนรู้

ผู้แต่ง

  • อุดม ภู่วโรดม สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
  • ภูพิงค์ เอกะวิภาต กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา สถาบันประสาทวิทยา
  • สุชาติ หาญไชยพิบูลย์กุล กลุ่มงานประสาทวิทยา สถาบันประสาทวิทยา
  • ทัศนีย์ ตันติฤทธิศักดิ์ กลุ่มงานประสาทวิทยา สถาบันประสาทวิทยา
  • สมชาย โตวณะบุตร กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ischemic stroke, model development, stroke fast track

บทคัดย่อ

โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและการสูญเสียปีสุขภาวะที่สำคัญ อัตราการตายเฉลี่ยจากโรคหลอดเลือดสมองระหว่างปี 2554 – 2556 อยู่ที่ 38.1 ต่อ 100,000 ประชากร ในขณะที่อัตราการตายเฉลี่ยจากโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลอยู่ที่ร้อยละ 6.20 สำหรับประเทศไทยมีการนำแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โดยการวางกลยุทธ์ แผนการปฏิบัติการ กิจกรรมในการบริหารจัดการการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตามหลักการของการจัดการปัจจัยพื้นฐานทั้งในด้านการจัดบริการ การจัดการกำลังคน เทคโนโลยี การจัดการข้อมูล การเงิน การอภิบาลระบบ เพื่อช่วยลดอัตราการตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตั้งแต่ปี 2558 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดูผลจากการดำเนินการตามแผนพัฒนาระบบสุขภาพ (service plan) โดยเปรียบเทียบตัวชี้วัดคุณภาพการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งในด้านของมาตรฐาน กระบวนการ ผลลัพธ์ และภาวะแทรกซ้อนในโรงพยาบาลแต่ละระดับ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากโรงพยาบาลที่เข้าร่วมเป็นเครือข่ายจำนวน 107 แห่งจาก 12 เขตสุขภาพ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในช่วงเวลาที่ทำการศึกษาจำนวน 68,941 คน อัตราการตายเฉลี่ยจากโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลลดลงจากร้อยละ 6.20 เหลือร้อยละ 3.70 อัตราการรับผู้ป่วยเข้ารักษาซ้ำลดลงจากร้อยละ 1.540 เหลือร้อยละ 1.370 ผู้ป่วยที่มี Barthel index ตอนจำหน่ายสูงกว่าตอนแรกรับมีค่าเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 2.97 จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลลดลง 0.72±1.24 วัน การมีหอผู้ป่วย stroke unit ที่เพียงพอ การมีแผนการรักษา การให้ยาละลายลิ่มเลือด และการทำงานร่วมกับแบบสหวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพ เป็นปัจจัยหลักที่สำคัญของการบริหารจัดการการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในหน่วยบริการระดับตติยภูมิ ส่วนหน่วยบริการในระดับทุติยภูมิจำเป็นต้องมีระบบการส่งต่อที่ดี มีการสร้างเครือข่าย และการสร้างความตระหนักรับรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง การดำเนินการตามแผนพัฒนาระบบสุขภาพโดยการวางกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ กิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้อัตราการรอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น สามารถนำไปเป็นต้นแบบของการพัฒนาระบบบริหารจัดการการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในภาพรวมของประเทศต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-03-11

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้