การพัฒนางานระบบส่งต่อการตรวจวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลเครือข่ายจังหวัดขอนแก่น พ.ศ. 2559 - 2560

ผู้แต่ง

  • วิรัช พวงภู่ กลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิก โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • ราตรี ลีละวงค์เทวัญ สถานวิทยาศาสตร์พรีคลินิก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

เครือข่ายหน่วยรับส่งต่อ, ประสิทธิภาพการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ, หน่วยรับส่งต่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและจัดรูปแบบระบบส่งต่อสิ่งส่งตรวจเพื่อตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ กล่าวคือจัดให้มีเครือข่ายหน่วยรับส่งต่อสำหรับรับตัวอย่างจากโรงพยาบาลชุมชนที่มีจำนวนเตียงน้อยกว่า 120 เตียง ไปยังโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่ายที่มีจำนวนเตียง 120 เตียงขึ้นไปในจังหวัดขอนแก่น โดยผู้จำหน่ายน้ำยาตรวจทางห้องปฏิบัติการต้องจัดระบบการรับส่งสิ่งส่งตรวจรวมทั้งส่งผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการแบบไม่คิดค่าใช้จ่ายระหว่างโรงพยาบาลชุมชน การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาโดยการสร้างเครือข่ายที่มีเป้าหมายให้โรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก เข้าร่วมโครงการของโรงพยาบาลหน่วยรับส่งต่อ ในที่นี้คือโรงพยาบาลชุมแพและโรงพยาบาลพล ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50.00 และมูลค่ารวมของการส่งต่อต้องลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 30.00 โดยคิดราคาใหม่เทียบกับราคาส่งต่อเดิม สำหรับการศึกษาครั้งนี้ มีโรงพยาบาลชุมชน เข้าร่วมโครงการ 9 แห่งจากทั้งหมด 13 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 69.23 จากผลการดำเนินการของเครือข่ายเทคนิคการแพทย์ขอนแก่น ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2559 - มิ.ย. 2560 พบว่ามูลค่ารวมที่ส่งต่อไปยังทั้ง 2 หน่วยรับส่งต่อของโรงพยาบาลชุมแพและโรงพยาบาลพล มีมูลค่าเท่ากับ 1,757,470.00 บาท แต่มูลค่ารวมจากอัตราค่าบริการที่เคยส่งต่อในปี 2557 เท่ากับ 2,676,931.00 บาท จะเห็นได้ว่าการสร้างระบบเครือข่ายส่งต่อ ทำให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 919,461.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 34.35

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-03-11

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ