Frequency of Punctures in Patients with Dengue Infection-ผู้ป่วยเด็กติดเชื้อเด็งกี่กับจำนวนครั้งของการถูกเจาะต่างๆ
บทคัดย่อ
Number of punctures received by patients with Dengue virus infection attending Pediatric Section of Mahasarakham Hospital during Oct 1, 1987 to Sep 30, 1988 were studied. These included the punctures for complete blood count (CBC), hematocrit (Hct), other laboratory tests, as well as intravenous medication. There were altogether 725 cases: 362 with final diagnosis of Dengue hemorrhagic fever (DHF), 215 with Dengue fever (DF), and 148 cases with high fever suspected of Dengue infection (ND). It was found that the mean frequency of punctures was 13.56 times (max 42 – min 1) for the DHF group, 6.09 times (max 22 – min 1) for the DF group, and 5.94 times (max 31 – min 1) for the ND group. The mean for DHF group was significantly much higher than the other two, espectially in frequency of punctures. Only for mean frequency of hematocrit punctures.
The high number of punctures that the children have received clearly demonstrated how painful they were. Therefore we should limit the number of punctures by ordering the practice only when necessary.
ได้ทำการศึกษากลุ่มผู้ป่วยเด็กโรคไข้เลือดออก (DHF) ไข้เด็งกี่ (DF) และไข้สูงจากสาเหตุอื่นที่สงสัยว่าติดเชื้อเด็งกี่ (ND) ในแผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาสารคามว่าได้รับการเจาะต่างๆ คือ การเจาะเลือดหาค่า CBC, Hct, ตรวจชันสูตรอื่นๆ และเจาะแทงเส้นเพื่อให้สารน้ำต่างๆ อย่างไร ผู้ป่วยทั้งหมดรับไว้ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2531 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2532 จำนวน 725 ราย พิจารณา จากการวินิจฉัยขั้นสุดท้าย พบว่าเป็นกลุ่ม DHF 362 ราย DF 149 ราย และเป็นกลุ่มไข้สูงจากสาเหตุอื่นๆ 214 ราย สรุปรวมจากบันทึกจำนวนครั้งของการถูกเจาะต่างๆ ดังกล่าวพบว่า
กลุ่ม DF ถูกเจาะเฉลี่ยรายละ 6.09 ครั้ง สูงสุด 22 ครั้ง ต่ำสุด 1 ครั้ง กลุ่ม DHF ถูกเจาะเฉลี่ยรายละ 13.56 ครั้ง สูงสุด 42 ครั้ง ต่ำสุด 1 ครั้ง และกลุ่ม ND ถูกเจาะเฉลี่ยรายละ 5.94 ครั้ง สูงสุด 31 ครั้ง ต่ำสุด 1 ครั้ง กลุ่ม DHF มีค่าเฉลี่ยการเจาะแต่ละอย่างสูงกว่า DF และ ND โดยค่าที่สูงกว่าชัดเจน คือ การเจาะ Hct โดยกลุ่ม DHF = 9.77 ครั้ง DF = 3 ครั้ง ND = 3.51 ครั้ง
จากผลการศึกษานี้ จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ไดทราบถึงความเจ็บปวดของผู้ป่วยโดยคิดเป็นจำนวนครั้งของการเจาะต่างๆ เพื่องดการเจาะที่ไม่จำเป็น