ความเครียดในชีวิตประจำวันของเด็กวัยรุ่น ที่ได้รับการดูแลในครอบครัวที่มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี
คำสำคัญ:
ความเครียด, ผู้ดูแล, ครอบครัวที่มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี, วัยรุ่นบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานความเครียดของเด็กวัย 12-17 ปี ที่ได้รับการเลี้ยงดูในครอบครัว ที่มีพ่อหรือแม่เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยการวิเคราะห์ข้อมูลของเด็กจำนวน 206 คน จากครอบครัวที่เข้า ร่วมโครงการวิจัย "การให้จิตศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กที่อยู่ในครอบครัวผู้ติดเชื้อเอชไอวี ในประเทศไทย" ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการร่วมกันระหว่างสำนักระบาดวิทยา โรงพยาบาลแม่จัน และโรงพยาบาลเชียงแสน ในจังหวัดเชียงราย และโรงพยาบาลปากช่องนานา และโรงพยาบาลครบุรี ในจังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ Everyday Stress Index (ESI - Thai Adolescent Version) ซึ่งมีการจัดกลุ่มคำถามด้วยวิธี factor analysis แบ่งคำถามทั้ง 26 ข้อ ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ความเครียดที่เกิดจากความกังวล ความเครียดที่เกี่ยวกับความกดดันและความเครียดจากอุปสรรค ผลการศึกษาพบว่า เด็กส่วนใหญ่มีความพอใจกับสภาพความเป็นอยู่ในครอบครัว (ร้อยละ 77.8) มีความสัมพันธ์กับครูที่โรงเรียนในระดับดี (ร้อยละ 82.0) มีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้น เรียน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีเช่นเดียวกัน (ร้อยละ 91.5) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับความเครียดในชีวิตประจำวันของเด็กวัยรุ่นกลุ่มนี้ พบว่ากลุ่มเด็กที่มีผู้ดูแลไม่ติดเชื้อเอชไอวี มีค่าเฉลี่ยความเครียด ที่เกิดจากความกังวล ความเครียดที่เกี่ยวกับความกดดัน และความเครียดจากอุปสรรค ไม่แตกต่างกับกลุ่มเด็กที่มีผู้ดูแลติดเชื้อเอชไอวี และพบว่าความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับเพื่อนร่วมชั้นมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเครียดที่เกิดจากความกังวล ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับครูมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเครียดด้านอุปสรรค อย่างไรก็ตามความพอใจในสภาพครอบครัวมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความเครียดด้านอุปสรรค
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.