Epidemiological Impact of Multidrug Therapy in Leprosy Control, Lampang-การศึกษาผลกระทบทางระบาดวิทยาของการใช้ยาเคมีบำบัดผสมแบบใหม่ ในโครงการควบคุมโรคเรื้อน จังหวัดลำปาง
บทคัดย่อ
The Lampang Leprosy Project treatment standard has been changed since 1983. The multidrug therapy regimen has being used instead of Dapsone regimen. The regimen has affected the magnitude and pattern of leprosy epidemiology in Lampang. The average age of newly detected cases increased for 28.6 years to 36.7 years. The lepromatous case detection has been increased, and the proportion of older-age cases detection has also increased. These indicated the effects of multidrug therapy in reducing the infectivity and severity of leprosy in Lampang.
โครงการควบคุมโรคเรื้อนจังหวัดลำปางได้ปรับเปลี่ยนมาตรการควบคุมโรคเรื้อนในปี พ.ศ. 2526 จากการควบคุมซึ่งใช้ยาแด๊ปโซนตัวเดียว เป็นการใช้ยาเคมีบำบัดผสมแบบใหม่ ซึ่งในการดำเนินการมีผลต่อภาวะและกระสวน (pattem) ทางระบาดวิทยาโรคเรื้อน โดยเฉพาะต่อการเปลี่ยนแปลงของดัชนีชีวัดทางระบาดวิทยา ที่สำคัญพบว่าการใช้ยาเคมีบำบัดผสมมีผลกระทบชัดเจนต่อการเพิ่มสูงขึ้นของอายุเฉลี่ยเมื่อเริ่มมีอาการครั้งแรกของผู้ป่วยใหม่ คือจาก 28.6 ปี เป็น36.7 ปี รวมทั้งการเพิ่มสูงขึ้นของอัตราส่วนผู้ป่วยใหม่ชนิดเลโปรมาตัส ตลอดจนการมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นของสัดส่วนของกลุ่มผู้อายุสูงขึ้นในผู้ป่วยใหม่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นผลกระทบของโครงการเรื้อนที่ใช้ยาเคมีบำบัดแบบผสมต่อการลดและหยุด ยั้งการแพร่ติดต่อโรคเรื้อนในชุมชน รวมทั้งลดความรุนแรงของผู้ป่วยระยะแพร่เชื้อทั้งเก่าและใหม่ลงด้วยการแพร่ติดต่อของโรคเรื้อนในจังหวัดลำปาง จึงอยู่ในระยะที่ไม่กำเริบรุนแรงและมีแนวโน้มจะสงบ อันเป็นผลกระทบจากการใช้ยาเคมีบำบัดผสมแบบใหม่