การรับรู้และการขับเคลื่อนพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559
คำสำคัญ:
พ.ร.บ. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559, ลักษณะการรับรู้, การขับเคลื่อน พ.ร.บ.ฯบทคัดย่อ
ปัญหาสำคัญของการจัดการการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นคือ ปัญหาความร่วมมือในการดำเนินงานโดยเฉพาะความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐด้วยกัน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะขาดกลไกและเครื่องมือการทำงานร่วมกัน อันส่งผลกระทบต่องานการแก้ไขและป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น ดังนั้นเมื่อรัฐบาลประกาศใช้พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น พ.ศ. 2559 ซึ่งถือเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานแก้ไขและป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น ผู้เขียนจึงทำการวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย 2 ประการคือ (1) ลักษณะการรับรู้ต่อ พ.ร.บ. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 (2) แนวทางการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อน พ.ร.บ. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ด้วยวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (mixed method) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปฏิบัติงานมีการรับรู้ต่อ พ.ร.บ.ฯ น้อย และยังไม่สามารถขับเคลื่อนนำ พ.ร.บ.ฯ ไปใช้ได้ และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรับรู้และการขับเคลื่อน พ.ร.บ. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 ได้แก่ ความพึงพอใจในการทำงานการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น ระยะเวลาการทำงานในด้านการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น รูปแบบการรับรู้ด้วยสื่อโทรทัศน์ วิทยุและการเข้าร่วมประชุม โดยข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ (1) ต้องสร้างการรับรู้และความเข้าใจว่า พ.ร.บ.ฯ เป็นกลไกการทำงานที่สนับสนุนการทำงานเชิงบูรณาการเครือข่าย (2) สร้างระบบติดตามสถานการณ์ปัญหาของวัยรุ่นอย่างใกล้ชิด 3) สร้างกลไกสนับสนุนการขับเคลื่อน พ.ร.บ.ฯ ด้วยการเสริมสร้างพลังอำนาจกลุ่มผู้ปฏิบัติงานและกลุ่มเป้าหมาย (empowerment) การสร้างพลังสนับสนุนทางสังคมจากประชาชนและสาธารณชนทั่วไป (social support) สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงานและกลุ่มเป้าหมายคือ วัยรุ่นและครอบครัว (people participation) สร้างความเป็นภาคีหุ้นส่วน (partnership) โดยการกำหนดพันธกิจเพื่อบูรณาการขับเคลื่อน พ.ร.บ.ฯ และการสร้างภาคีเครือข่ายใหม่ๆ เพิ่มขึ้น (network) เพื่อผลักดันให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 Journal of Health Science - วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.