ความชุกของพัฒนาการล่าช้าในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จังหวัดพัทลุง
คำสำคัญ:
พัฒนาการเด็ก, พัฒนาการล่าช้า, เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีบทคัดย่อ
การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของพัฒนาการล่าช้าในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จังหวัดพัทลุง ประชากรที่ทำการศึกษา คือ เด็กที่คลอดระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และได้รับการติดตามและบันทึกข้อมูลพัฒนาการโดยบุคลากรสาธารณสุขจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 จำนวน 1,182 คน ตัวแปรที่สนใจ คือ พัฒนาการของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยจำแนกออกเป็น (1) พัฒนาการปกติ (2) พัฒนาการสงสัยล่าช้า และ (3) พัฒนาการล่าช้า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาความชุกของพัฒนาการในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จังหวัดพัทลุง พบว่า เด็กช่วงอายุ 1 2 และ 3 ปี มีพัฒนาการปกติร้อยละ 100.00 สำหรับเด็กช่วงอายุ 4 ปี พบว่า เด็กมีพัฒนาการปกติ สงสัยล่าช้า และล่าช้าเท่ากับร้อยละ 99.75, 0.17 และ 0.08 ตามลำดับ นอกจากนี้ เมื่อเด็กอายุ 5 ปี พบว่า เด็กมีพัฒนาการปกติและล่าช้าเท่ากับ ร้อยละ 89.26 และ 10.74 ตามลำดับ จากผลการศึกษาดังกล่าว บุคลากรสาธารณสุขควรให้ความสำคัญกับการคัดกรองพัฒนาการในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และควรมีการติดตามเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงอายุ 4 และ 5 ปี เพื่อเป็นการส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการให้อยู่ในระดับปกติ ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดปัญหาการมีพัฒนาการล่าช้า และการเรียนรู้ในเด็กวัยเรียนต่อไป
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 Journal of Health Science - วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.