ปัจจัยที่มีผลต่อผู้ปกครองในการน้ำเด็กอายุ 0 - 5 ปี รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคพื้นฐานของจังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • รุสนา ดอแม็ง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี
  • ฐปนรรฆ์ ประทีปเกาะ โปรแกรมวิชาสุขศึกษา ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคพื้นฐาน, ปัจจัยนำ, ปัจจัยเอื้อ, ปัจจัยเสริม

บทคัดย่อ

ความครอบคลุมของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กอายุ 0 - 5 ปี ในจังหวัดปัตตานี ยังต่ำกว่าเป้าหมายของ องค์การอนามัยโลก ทำให้มีเด็กป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อผู้ปกครองในการนำเด็กอายุ 0 - 5 ปี รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มโรคพื้นฐานของจังหวัดปัตตานี เป็นการ ศึกษาแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองจำนวน 540 คน ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อผู้ปกครองในการนำเด็กมารับการสร้างเสริมภูมิคุ้มโรคพื้นฐาน ด้านปัจจัยนำ ได้แก่ ระดับการ ศึกษา (ไม่เรียนหนังสือ Adj OR=4.06, 95%CI=1.26-13.11) ความเชื่อในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (ความ เชื่อที่สนับสนุนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในระดับปานกลาง Adj OR=2.81, 95%CI=1.77-4.47 และความเชื่อที่ สนับสนุนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในระดับต่ำ Adj OR=4.53, 95%CI=1.86-11.03) ด้านปัจจัยเอื้อ ได้แก่ ความพึงพอใจในบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (ไม่พึงพอใจในบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค Adj OR=5.99, 95%CI=1.18-30.46) สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ (สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่เป็นอุปสรรคในการมา รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค Adj OR=5.78, 95%CI=1.51-22.09) ด้านปัจจัยเสริมได้แก่ ข้อมูลข่าวสารหรือ การรณรงค์เกี่ยวกับวัคซีนและโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน (ไม่เคยได้รับข้อมูลข่าวสารหรือการรณรงค์เกี่ยวกับวัคซีน และโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน Adj OR=0.25, 95%CI=0.76-0.80) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดัง นั้นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ควรประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองในการรับบริการการสร้างเสริมภูมิคุ้มโรค เป็นประจำ และมีการพัฒนาระบบบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครองในพื้นที ด้านความเชื่อที่สำคัญ เกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มโรคในพื้นที่ควรมีการเผยแพร่คำวินิจฉัยของจุฬาราชมนตรีว่าด้วยเรื่องของวัคซีน ป้องกันโรคว่าสามารถกระทำได้ไม่ผิดหลักศาสนา โดยใช้เครือข่ายผู้นำศาสนาในพื้นที่ร่วมแก้ปัญหา

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ