การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน
คำสำคัญ:
ระบบการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน, การมีส่วนร่วมของชุมชนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 ถึง 2559 ใช้แนวคิดการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองขององค์การอนามัยโลก 6 ด้านเป็นกรอบแนวคิดเชิงเนื้อหา และใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเป็นกรอบแนวคิดในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนา หมุนเกลียวกระบวนการพัฒนาทุกรอบปี จนได้ระบบและผลลัพธ์ที่พึงพอใจ ในกลุ่มเป้ าหมายที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านทั้งหมดจำนวน 290 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่มได้แก่ (1) ผู้สูงอายุที่พึ่งตนเองไม่ได้ (2) ผู้พิการที่มีข้อจำกัด และ (3) ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง โดยมีทีมบุคลากรสาธารณสุขและจิตอาสาดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน (จผบ.)จำนวน 96 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละในการแปลผลเชิงปริมาณและการวิเคราะห์เนื้อหาในการแปลผลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า ระบบการดูแลผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านพัฒนาขึ้นโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนประกอบด้วย (1) ทีมบุคลากรสาธารณสุขและ จผบ. ที่เกิดความตระหนักทำงานด้วยใจรักและจิตเป็นกุศลหนุนเสริมการมีส่วนร่วมดูแลผู้ป่วย (2) บริการและทีมดูแลแบบบูรณาการ (3) ศูนย์ประสานงานการดูแลที่คลอบคลุมทุกตำบล (4) แนวปฏิบัติในการดำเนินการร่วมกันของศูนย์ประสานงานระดับอำเภอและตำบล (5) กระบวนการเสริมพลังสร้างคุณค่าการทำงานด้วยการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความดีในหัวใจให้กับทีมงาน (6) ศูนย์ดูแลต่อเนื่อง (COC) ระดับอำเภอในการจัดการระบบการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคที่มีปัญหาซับซ้อนเป็นที่ปรึกษาและเป็นพี่เลี้ยงในการปฏิบัติ (7) ระบบการกำกับติดตามประเมินผล จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสริมพลังสร้างคุณค่าอย่างต่อเนื่อง และ (8) ระบบสนับสนุนศูนย์อุปกรณ์กองทุนและระบบฐานข้อมูลดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ผลลัพธ์ของกระบวนการทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการได้ครอบคลุม มีคุณภาพชีวิต ความพึงพอใจและการตายดีเพิ่มขึ้น
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 Journal of Health Science - วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.