การศึกษาความสัมพันธ์ของการประเมินผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์โดยใช้ Alberta Stroke Program Early CT Score กับการพยากรณ์ความสามารถในการทำงานของร่างกายผู้ป่วยโรคเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลัน ภายหลังการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด ทางหลอดเลือดดำ โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • นิสสา อาชวชาลี กลุ่มงานบริการทางการแพทย์ โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

หลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์, ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ, การใช้ Alberta Stroke Program Early CT Score, การใช้ Barthel activity of daily living index, การใช้ modified Rankin Scale

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการประเมินผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ไม่ฉีดสารทึบรังสีก่อนได้รับการรักษา โดยใช้ Alberta Stroke Program Early CT Score (ASPECTS) และความสามารถในการทำงานของร่างกายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลันที่เข้าถึงการดูแลในโรงพยาบาล เป็นการศึกษาไปข้างหน้า ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลันที่เข้าถึงการดูแลในโรงพยาบาลภายใน 4.5 ชั่วโมงตั้งแต่เริ่มมีอาการและได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ในโรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2557 ถึง 30 เมษายน 2560 ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำภายใน 270 นาที ตั้งแต่เริ่มมีอาการ จำนวน 58 ราย (อายุมัธยฐาน 66 ปี, ช่วงอายุ 34 ปี ถึง 89 ปี) เป็นเพศชาย 28 ราย ซึ่งมีค่า ASPECTS มัธยฐานเท่ากับ 9 (ช่วงคะแนน 6 ถึง 10) เมื่อประเมินความสามารถในการทำงานของร่างกายก่อนจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล โดย BI (Barthel Ac-tivity of Daily Living Index) และ mRS (modified Rankin Scale) พบว่ากลุ่ม Better ASPECTS ดีกว่ากลุ่ม Worse ASPECTS อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05 นอกจากนี้ยังพบว่าค่า baseline ASPECTS, Hyperdense MCA (mid-dle cerebral artery) sign, NIHSS (National Institutes of Health Stroke Scale) แรกรับที่ห้องฉุกเฉิน, NIHSS, BI, mRS แรกรับที่ตึกผู้ป่วย และ NIHSS ก่อนจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล เป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการพยากรณ์ความทุพพลภาพของผู้ป่วยภายหลังการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ ดังนั้น การประเมินผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองที่ไม่ฉีดสารทึบรังสีก่อนได้รับการรักษาโดยใช้ ASPECTS สามารถช่วยประกอบการตัดสินใจในการรักษาและพยากรณ์ความสามารถในการทำงานของร่างกายก่อนจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลันภายหลังการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำได้ โดยมีการพยากรณ์โรคที่ดีกว่าในผู้ป่วย ASPECTS มากกว่า 7

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ