ปัจจัยที่คาดการณ์ระดับความปวดแผลหลังการผ่าตัดต่อมทอนซิล

ผู้แต่ง

  • เกศราภรณ์ ยะตา โรงพยาบาลพะเยา จังหวัดพะเยา

คำสำคัญ:

การผ่าตัดต่อมทอนซิล, การปวดแผลหลังตัดต่อมทอนซิล, ภาวะแทรกซ้อนต่อมทอนซิล

บทคัดย่อ

อาการปวดแผลหลังผ่าตัดต่อมทอนซิล เป็นปัญหาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่อาจส่งผลต่อระดับความปวดแผลหลังการผ่าตัดเพื่อใช้ในการวางแผนดูแลผู้ป่วยให้เหมาะสมต่อไป โดยการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง ตั้งแต่ พ.ศ. 2555 ถึง 2560 รวบรวมข้อมูลพื้นฐาน และปัจจัยที่คาดว่าจะเกี่ยวข้องกับระดับความปวดแผลหลังผ่าตัดของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต่อมทอนซิล จากนั้นแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มปวดแผลมาก และกลุ่มปวดแผลน้อย แล้วนำมาวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความปวดแผล การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติ chi-square test, fisher’s exact test และ Independent t-test ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า มีผู้ป่วยทั้งหมด 158 ราย เพศหญิงร้อยละ 60.1 เพศชายร้อยละ 39.9 อายุเฉลี่ย 20±14.16 ปี จำนวนวันนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 6 ±1.87 วัน ผู้ป่วย 17 ราย กลับมาตรวจซ้ำก่อนถึงวันนัด โดย 16 จาก 17 ราย มาตรวจด้วยปัญหาปวดแผลมากและเลือดออกจากแผลผ่าตัด โดยมี 14 รายต้องนอนโรงพยาบาลซ้ำ พบผู้ป่วยกลุ่มที่ปวดแผลมาก 47 ราย (ร้อยละ 29.7) และปวดแผลน้อย 111 ราย (ร้อยละ 70.3) เปรียบเทียบข้อมูลทั้งสองกลุ่มพบว่า กลุ่มปวดมากมีจำนวนวันนอน การกลับมาตรวจซ้ำ กลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำและเลือดออกจากแผลผ่าตัด มากกว่ากลุ่มปวดน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความปวดแผลพบว่า การผ่าตัดจากข้อบ่งชี้ของการอักเสบติดเชื้อบ่อย และขนาดพื้นที่ฐานของต่อมทอนซิลที่ตัดออก >9 ตร.ซม. เป็น 2 ปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยปวดแผลมากหลังผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลการวิจัย ผู้ป่วยที่จะเข้ารับการผ่าตัดต่อมทอนซิล และตรวจพบปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความปวดแผลหลังการผ่าตัด ได้แก่ มีการอักเสบต่อมทอนซิลบ่อย และมีพื้นที่ฐานต่อมทอนซิลกว้าง ควรมีการวางแผนการดูแลป่วยกลุ่มนี้อย่างเหมาะสม เพื่อส่งเสริมให้ผลลัพธ์ของการรักษาดีมากยิ่งขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ