คุณภาพอากาศภายในอาคารโรงพยาบาล: กรณีศึกษา โรงพยาบาลชมุชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ปานทิพย์ ธิโนชัย สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • มนทิรา เตี้ยเล็ก สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • จิรา คงปราณ สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คำสำคัญ:

คุณภาพอากาศภายในอาคาร, แบคทีเรีย, เชื้อรา, ภาวะสบายเชิงความร้อน, โรงพยาบาล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางเพื่อประเมินคุณภาพอากาศในอาคารโรงพยาบาลชุมชนขนาด 120 เตียง ในพื้นที่ 5 แผนก โดยตรวจวัดมลภาวะอากาศภายในอาคารทางชีวภาพและภาวะสบายเชิงความร้อน ผลการตรวจวัดปริมาณแบคทีเรียรวมและเชื้อรารวมซึ่งใช้วิธีเก็บตัวอย่างจุลชีพแขวนลอยโดยการดักเก็บด้วยเพลทเก็บตัวอย่าง จำนวน 78 ตัวอย่าง มีค่าระหว่าง 3-411 CFU/m3 และ 0-289 CFU/m3 ตามลำดับ ซึ่งไม่เกินค่าแนะนำที่ยอมรับได้ตามที่กำหนดใน (ร่าง) ประกาศกรมอนามัย และประเทศสิงคโปร์ (กำหนดไว้ไม่เกิน 500 CFU/m3) ทุกครั้งที่ตรวจวัด ค่าเฉลี่ยปริมาณแบคทีเรียรวมและเชื้อรารวมตรวจพบสูงสุดในแผนกผู้ป่วยนอก (239 CFU/m3 และ 111 CFU/m3 ตามลำดับ) รองลงมาเป็นแผนกห้องคลอด แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน แผนกอายุรกรรมชาย และแผนกทันตกรรมทั่วไป ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนคน (ผู้ป่วย ญาติ และเจ้าหน้าที่) ที่อยู่ในแผนกระหว่างการตรวจวัด สำหรับภาวะสบายเชิงความร้อน ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และการเคลื่อนที่ของอากาศ มีค่าระหว่าง 21.9-30.6 oC 63.2 - 80.7% และ 0.02-0.51 เมตร/วินาที ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่ไม่เป็นไปตามค่าแนะนำตาม (ร่าง) ประกาศกรมอนามัยเท่ากับร้อยละ 70.5 ร้อยละ 93.6 และร้อยละ 56.4 ของผลการตรวจวัดทั้งหมด ตามลำดับ โดยสาเหตุเกิดจากการออกแบบระบบระบายอากาศและปรับอากาศของอาคารไม่เหมาะสมต่อภาวะสบายเชิงความร้อนที่อาจส่งผลให้ผู้ที่ใช้บริการอาคารรู้สึกไม่สบาย อึดอัด และร้อนอบอ้าว ซึ่งควรได้รับการปรับปรุงโดยเฉพาะในแผนกอายุรกรรมชาย

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ