Behavior of Farmers in Using Pesticides for Vegetable Farmers in Muang District, Khon Kaen Province-พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรสวนผัก อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
-บทคัดย่อ
The objectives of this research were to study the behavior of vegetable farmers in using pesticides. the kinds of pesticides used, and also the knowledge and attitude of the vegetable farmers in using the pesticides. The study was conducted in the period between January - June 1992. by interviewing 170 vegetable farmers from 170 farms from 5 villages in Muang District, Khon Kaen Province. Also the research was qualitatively conducted by indepth interview and observation.
It was found that most of vegetable farmers used pesticides in the afternoon during 4.00-6.00 PM, and 22.94% of the farmers used pesticides both in the morning (6.00—8.00 AM.) and atternoon. A small number of farmers took intermission to drink water even without prewashing their hands by soaps or detergents. Most of vegetable farmers used bath towels to cover their noses and mouths to protect pesticide hazard. They also used clothes to cover their hair, and poor quality mask for respiratory protection. 10.59% of farmers dressed the mselves in complete safety suits (by wearing gloves, boots and masks) to avoid the pesticide hazards. 94.12% of them took a bath after finish spraying the pesticides. 60% of farmers developed abnormal symptoms from pesticide use. These included sweat at arms and legs, itched at hands and skin, benumbed at the parts of body that touched the pesticides, vertigo, nausea, vomit, 25.49% of the farmers who got those abnormal symptoms would have abnormal symptoms on their bodies all the times when they used the pesticides in the farms. The pesticides they used in vegetable farms were Mevinphos, Methyl Parathion, Methamidophos and Prothiophos. Ratio of pesticides to water as the pesticide concentration they used, they studied from the lebels on pesticide containers, they mixed some violent chemical substances in the pesticides in order to increase more effectiveness, most of vegetables that the farmers spread the pesticides on were puk-kana, white lettuces and long beans, 96.47% of farmers said that the pesticides they used in the farms were very hazardous to their bodies, to avoid the hazards from using those pesticides they would perform the mselves follow the recommendations of the lebel: 0n pesticide containers for examples; dressing in the complete safety suits, drinking the beverage (Orange Juice) after spraying the pesticides in the farme.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ประเภทของสารเคมีที่ใช้ ตลอดจนความรู้และทัศนคติ ในเรื่องสารเคมีที่ใช้ของเกษตรกรสวนผักในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยการสัมภาษณ์เกษตรกรชาวสวนผัก จำนวน 170 คน จาก 170 สวนผักที่สุ่มตัวอย่างจาก 5 หมู่บ้านในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ที่มีอาชีพในการปลูกผักขาย และโดยวิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาระหว่างมกราคม 2535 ถึงมิถุนายน 2535
ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรสวนผักส่วนใหญ่มีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในตอนเย็น และร้อยละ 22.94 ฉีดพ่นทั้งช่วงเช้าและเย็น มีเพียงส่วนน้อยที่มีการหยุดพักดื่มน้ำระหว่างการฉีดพ่นสารเคมีและไม่มีการล้างมือด้วยสบู่หรือผงซักฟอกก่อน
เกษตรกรส่วนใหญ่จะมีการปิดจมูกและปาก เพื่อป้องกันการสูดหายใจเอาละอองสารเคมีเข้าไป ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวจะเป็นผ้าขาวม้า ผ้าคลุมผม หรือหมวกถักคลุมศีรษะ นอกจากนี้ยังมาการนำหน้ากากป้องกันสารพิษมาใช้ด้วย แต่ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทที่ไม่สามารถกรองสารพิษได้ และมีเพียงร้อยละ 10.59 ที่มีการแต่งกายมิดชิดขณะฉีดพ่นสารเคมี ในการฉีดพ่นทุกครั้งจะยืนอยู่เหนือลมและเดินฉีดถอยหลังเพื่อป้องกันละอองสารเคมี หลังการฉีดพ่นแล้ว ส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 94.12 จะอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายทันที
สำหรับอาการผิดปกติของร่างกายภายหลังจากการฉีดพ่นสารเคมีแล้ว พบว่า ร้อยละ 60 ของผู้ให้สัมภาษณ์เคยมีอาการผิดปกติ เช่น มีเหงื่อซึมตามแขนขา คันตามมือ ผิวหนัง และชาบริเวณที่ถูกต้องสารเคมี วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืดและหมดสติ และในจำนวนดังกล่าว ร้อยละ 25.49 จะมีอาการผิดปกติทุกครั้งที่มีการฉีดพ่นสารเคมี โดยสารเคมีที่ใช้กันมาก ได้แก่ เมวินฟอส เมธิลพาราไธออน เมทามิโดฟอส และโปรไรโฮฟอส อัตราส่วนของสารเคมีที่ใช้จะดูจากฉลากที่ภาชนะบรรจุสารเคมีเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีการผสมสารเคมีที่ออกฤทธิ์สูงลงไปด้วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดให้ดียิ่งขึ้น ผักที่เกษตรกรคิดว่ามีการใช้สารเคมีมากที่สุด และเป็นอันตรายต่อคนได้คือ ผักคะน้า รองลงมาได้แก่ ผักกาดขาว และถั่วฝักยาว โดยร้อยละ 96.47 ตอบว่าสารเคมีที่ตนเองใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชอยู่นั้น มีอันตรายต่อร่างกายมาก ในการปฏิบัติตามข้อแนะนำในฉลากที่ภาชนะบรรจุสารเคมี มีการแต่งกายมิดชิดและภายหลังจากฉีดพ่นสารเคมีเสร็จแล้วดื่มน้ำอัดลม (เฉพาะน้ำส้ม) จะช่วยป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากกาใช้สารเคมีได้
ข้อเสนอแนะ ควรมีการอบรมและให้คำแนะนำเกษตรกรในการเลือกใช้สารเคมีและใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ