Comparative Study of impacts of Dapsone Monotherapy and Multidrug Therapy on Occurrence and Detection Rate of New Cases of Leprosy in 7 Provinces of Region 4-เปรียบเทียบผลกระทบของการใช้ระบบยาแด๊ปโซนอย่างเดียวและยาผสมแบบใหม่ต่ออัตราการเกิดและตรวจพบผู้ป่วยโรคเรื้อนใหม่ของ 7 จังหวัดในเขต 4
คำสำคัญ:
-บทคัดย่อ
The author has conducted a study to compare between the efficacy of mass treatment programme launched by Dapsone Monotherapy from 1983-1987 and multidrug therapy (MDT) from 1988-1992 in 7 provinces covered by Leprosy Center Region 4, Ratchaburi. Ten indicators has been used to measure such impact.
The comparative results of epidemiological changes as measured by the ten indicators were presented and discussed.
The overall changes in the observed pattern from her finding in 7 provinces of Leprosy Center Regions 4, Ratchaburi revealed and evident more definitely that MDT has more efficacy in lowering both the prevalence (85% by MDT, 40% by Dapsone) and the incidence (as reflected by case-detection rate) (67% by MDT, 25% by Dapsone). The results from some of remaining indicators also support the more rapid decline of leprosy as impact from MDT implementation. All relation factors has also been discussed and suggested that most of these indicators should be of great value to further assess active leprosy transmission in the other zones of low endemicity and under full coverage by MDT.
ผู้วิจัยได้ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการใช้ยาระบบยาแด๊ปโซนชนิดเดียวในโครงการควบคุมโรคเรื้อนระหว่างปี พ.ศ.2526 – 2530 กับการใช้ระบบยาผสมแบบใหม่ ในช่วงปี พ.ศ.2531 – 2535 ที่มีต่อผลกระทบทางระบาดวิทยาของการลดอัตราความชุกของโรคเรื้อน และอัตราการค้นพบผู้ป่วยโรคเรื้อนใหม่ในพื้นที่ 7 จังหวัดที่ศูนย์โรคเรื้อนเขต 4 ราชบุนีรับผิดชอบคือ ราชบุรี นครปฐม กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม โดยใช้ดัชนีชี้วัดทางระบาดวิทยา 10 ตัวเป็นเครื่องวัดในการประเมินผลข้อมูลที่ได้รวบรวมและวิเคราะห์จากระเบียบและรายงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษาพบว่ายาผสมมีประสิทธิผลสูงกว่ายาแด๊ปโซนชัดเจน สามารถลดอัตราของโรคเรื้อนใน 5 ปีได้ร้อยละ 85 ขณะที่แด๊ปโซนลดได้ร้อยละ 40 และสามารถลดอัตราการค้นพบผู้ป่วยโรคเรื้อนใหม่ลงได้ร้อยละ 67 ขณะที่ลดได้ร้อยละ 27 โดยการใช้ยาแด๊ปโซน นอกจากนั้นยังพบว่ายาผสม MDT ช่วยดึงดูดให้ผู้ป่วยโรคเรื้อนใหม่สนใจและยอมรีบมาตรวจรักษาแต่เนิ่นๆเร็วขึ้นเป็น 2.5 ปี นับจากเริ่มมีอาการ (5.9 ปีสมัยใช้แด๊ปโซน)
นอกจากนั้น ยังพบว่ายาผสมสามารถลดการแพร่ติดต่อของโรคเรื้อนในพื้นที่ 7 จังหวัด ซึ่งพิสูจน์ชัดเจนขึ้นจากการศึกษาครั้งนี้ว่าภาวะระบาดและแพร่โรคลดลง จึงน่าจะส่งผลดีต่อการกำจัดโรคเรื้อนใน 7 จังหวัดนี้และปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องจากการพบในการศึกษาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงในโครงการใช้ยาผสมและการนำดัชนีชี้วัดไปใช้ประเมินในเขต 4 และเขตอื่นๆ ต่อไปด้วย