การพัฒนาหลักสูตรการเสริมสร้างความสุขในองค์กรวิทยาลัยพยาบาลด้วยกระบวนการสุนทรียสนทนา

ผู้แต่ง

  • สุภาเพ็ญ ปาณะวัฒนพิสุทธิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
  • ศิริรัตน์ จำปี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์

คำสำคัญ:

หลักสูตร, ความสุขในองค์กร, สุนทรียสนทนา, การประกันคุณภาพการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรการเสริมสร้างความสุขในองค์กรวิทยาลัยพยาบาลด้วยกระบวนการสุนทรียสนทนา เป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการ 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาแนวคิดความสุขในการทำงาน คุณภาพชีวิต การประกันคุณภาพการศึกษา และสุนทรียสนทนาจากการทบทวนวรรณกรรม ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานประกันคุณภาพการศึกษา จากอาจารย์วิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก 15 แห่ง จำนวน 301 คน โดยการตอบแบบสอบถามและศึกษาสภาพปัญหา การทำงานประกันคุณภาพการศึกษาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีประสบการณ์ทำงานประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 30 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างหลักสูตร โดยนำข้อมูลที่ได้มายกร่างหลักสูตร แล้วนำหลักสูตรไปใช้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่านตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรโดยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาจารย์ และเลือกแบบเจาะจง จำนวน 36 โดยใช้แผนการทดลองแบบ one group pretest-posttest design ขั้นตอนที่ 4 การประเมินหลักสูตร ด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต ผลการวิจัยพบว่า (1) การศึกษาสภาพปัญหาในองค์กรพบว่า ความสุขในการทำงานสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ปัจจัยความรู้ แรงจูงใจ โครงสร้างองค์กร ลักษณะงาน การบริหารงาน ผลการตอบแทนและสวัสดิการ และสัมพันธภาพมีความสัมพันธ์กับการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และผลการทบทวนวรรณกรรมและการสัมภาษณ์ พบว่า แนวทางการเสริมสร้างความสุขในองค์กรประกอบด้วย การสร้างบรรยากาศการในองค์กร ด้วยการสื่อสารเชิงบวกและการสร้างพลังใจ การประกันคุณภาพการศึกษาตามวงคุณภาพ การบริหารงานเชิงระบบ การพัฒนาคุณภาพชีวิตและจัดการความเครียด และการสื่อสารด้วยกระบวนการสุนทรียสนทนา (2) หลักสูตรการเสริมสร้างความสุขในองค์กร ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมาย โครงสร้างหลักสูตร กิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดประเมินผล การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้วยแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น พบว่า หลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรเหมาะสมมาก (Mean=4.43 และ 4.45 SD=0.57 และ 0.55) (3) ผลการทดลองใช้หลักสูตรพบว่า สามารถนำไปใช้ได้จริง คะแนนหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ผลการวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้พบว่า บุคลากรมีความสุขในการทำงานร่วมกันเป็นทีม รับฟังบุคคลอื่นอย่างเข้าใจ ทำงานประกันคุณภาพมีระบบมากขึ้น ผลการประเมินหลักสูตรมีความเหมาะสมมาก โดยปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิตอยู่ในระดับมาก (Mean=4.52, 4.25 และ 4.52 SD=0.36, 0.38, และ 0.38 ตามลำดับ)

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้