การพัฒนารูปแบบโจทย์สถานการณ์เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง

ผู้แต่ง

  • สุภาเพ็ญ ปาณะวัฒนพิสุทธิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
  • ละมัด เลิศล้ำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
  • ชนิดา ธนสารสุธี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอน, การสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง, โจทย์สถานการณ์จำลองเสมือนจริง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบโจทย์สถานการณ์เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง แบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพและบริบทของการจัดการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริงโดยใช้การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบโจทย์สถานการณ์ เป็นการวิจัยเอกสาร นำข้อมูลมากำหนดรูปแบบโจทย์สถานการณ์ ให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไข ระยะที่ 3 ประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบโจทย์สถานการณ์จากอาจารย์จำนวน 69 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโจทย์สถานการณ์ วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนก่อน-หลังด้วยสถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า สภาพและบริบทของการจัดการเรียน การสอน มีการจัดการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริงครบทุกสาขาวิชา โดยมีการใช้ 2 รูปแบบ คือ (1) ใช้ในการจัดการเรียนการสอน (2) ใช้ในการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ อาจารย์ส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์การออกแบบโจทย์สถานการณ์จำลองเสมือนจริงมีเพียงประสบการณ์ในการออกแบบโจทย์สถานการณ์ทั่วๆ ไปสำหรับให้ผู้เรียนฝึกวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาของผู้ป่ วยบนกระดาษ ซึ่งแตกต่างจากโจทย์สถานการณ์จำลองเสมือนจริงที่มีองค์ประกอบและรายละเอียดมากกว่า จึงทำให้มีโจทย์ไม่เพียงพอ และยังไม่ครอบคลุมวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สมรรถนะชั้นปีและสมรรถนะเชิงวิชาชีพ (2) รูปแบบของโจทย์สถานการณ์ประกอบด้วย เป้ าหมาย วัตถุประสงค์ภาพรวมและขั้นตอนของสถานการณ์ การประเมินผลการเรียนรู้ ข้อมูลสถานการณ์ แนวทางของผู้สอน และบทการจำลองสถานการณ์ (3) ผลการทดลองใช้รูปแบบโจทย์สถานการณ์กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้การออกแบบโจทย์สถานการณ์ก่อนและหลังทดลองใช้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t=14.02) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี (Mean=4.51, SD=0.36) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย สถาบันควรมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะของอาจารย์ในการออกแบบโจทย์สถานการณ์เพื่อให้มีการจัดการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริงเพิ่มมากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้