การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมสมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุ สำหรับนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ประไพพิศ สิงหเสม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง
  • กิตติพร เนาว์สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
  • ศักรินทร์ สุวรรณเวหา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนรู้, สมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุ, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมสมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุ สำหรับนักศึกษาพยาบาล การดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอนหลักคือ การพัฒนา รูปแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมสมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุ และการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้ รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสานแบบแผน หลายระยะ ดำเนินการระหว่างปีการศึกษา 2558-2561 ดังนี้ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สภาพการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุโดย (1) วิเคราะห์เอกสารนโยบาย วิสัยทัศน์ หลักสูตรและการจัดเรียนการสอนในหลักสูตรและกิจกรรมเสริมหลักสูตร และทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุเพื่อใช้กำหนดเป้ าหมายการพัฒนาและประเมินสมรรถนะนักศึกษาพยาบาล ในปีการศึกษา 2558 พร้อมสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับกลวิธีพัฒนาสมรรถนะตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน และ (3) ศึกษาวิจัยเพื่อประเมินระดับสมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 468 คน ปีการศึกษา 2559 ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้จากการสังเคราะห์ผลระยะที่ 1 มากำหนดกรอบแนวคิดเบื้องต้นในการสร้างและกำหนดองค์ประกอบรูปแบบการเรียนรู้ ระยะที่ 3 นำรูปแบบการเรียนรู้ไปใช้ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อศึกษาประสิทธิผลรูปแบบ โดยมีกลุ่ม-เป้ าหมายคือนักศึกษาพยาบาล รุ่นที่ 50 จำนวน 88 คน เริ่มตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2558 จนถึงชั้นปีที่ 4 ในปีการศึกษา 2561 และประเมินผลรูปแบบการเรียนรู้จาก (1) สมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุ (2) ทัศนคติของนักศึกษาพยาบาลต่อผู้สูงอายุ (3) ความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลต่อรูปแบบการเรียนรู้ และ (4) ความคิดเห็นของผู้สอนต่อรูปแบบการเรียนรู้ และระยะที่ 4 นำผลที่ได้จากการทดลองใช้มาปรับรูปแบบการเรียนรู้และรับรอง รูปแบบโดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน จนได้รูปแบบการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเรียกชื่อว่า CAN Model ประกอบด้วย (1) แนวคิดสำคัญ (Concepts) คือการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (2) กระบวนการจัดการเรียนรู้ใช้การเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ประกอบด้วย (2.1) การจัดประสบการณ์เรียนรู้ใน 4 แหล่ง ได้แก่ โรงพยาบาล การเยี่ยมบ้าน ชมรมผู้สูงอายุและบ้านพักคนชรา (2.2) การสะท้อนคิดประสบการณ์สู่การเรียนรู้ (2.3) การสรุปองค์ความรู้รวบยอด และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ด้วยวิธีการเรียนแบบใช้โครงการเป็นฐาน และใช้การจัดการรายกรณี โดยเริ่มด้วยการสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อผู้สูงอายุ พัฒนาสมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ชั้นปีที่ 1-4 (3) สมรรถนะเป้ าหมาย 4 ด้าน (Nursing com petencies for elderly care) ประกอบด้วยสมรรถนะการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม สมรรถนะการสร้างเสริมพลังอำนาจและคุณภาพการดูแล สมรรถนะการใช้ผลงานวิจัย และสมรรถนะด้านจริยธรรม ส่วนด้านประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมสมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุ พบว่า (1) ค่าเฉลี่ยทัศนคติต่อผู้สูงอายุของนักศึกษาในชั้นปีที่ 4 เพิ่มขึ้นจากชั้นปีที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.012 (2) นักศึกษามีค่าเฉลี่ยสมรรถนะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามระดับชั้นปี โดยชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ยสมรรถนะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<<0.001) ชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยสมรรถนะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) (3) นักศึกษาพยาบาลมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการเรียนรู้ว่าสามารถสร้างเสริมสมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุในทุกด้าน และ (4) ผู้สอนมีความคิดเห็นว่ารูปแบบการเรียนรู้มีความเป็นไปได้และเหมาะสมต่อการนำไปใช้ ผู้เชี่ยวชาญให้การรับรองรูปแบบการเรียนรู้ว่ามีความถูกต้อง เหมาะสมและเป็นประโยชน์ จึงควรขยายผลการนำรูปแบบการเรียนรู้ดังกล่าวไปใช้เพื่อพัฒนานักศึกษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง และขยายผลไปสู่สถาบันการศึกษาพยาบาลอื่นต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้